The Witnesses ซ่อนรักไว้ข้างหลัง
ชื่อภาพยนตร์ :The Witnesses พลิกประวัติศาสตร์ โรคเอดส์ ใน ช่วงทศวรรษที่ 1980 อีกครั้งกับโรคร้ายที่ผู้คนต้องเสียชีวิตด้วยโรคร้ายนี้โดยไม่มีข้อกังขาจนมีผลสืบเนื่องมาจากการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “THE WITNESSES ซ่อนรักไว้ข้างหลัง” ผลงานการกำกับการแสดงของ “อังเดร เทรชีน” ผู้กำกับฯ หนุ่มมากฝีมือจากเมืองน้ำหอมที่เคยฝากผลงานมาแล้วมากมายอาทิ เทมปส์ ควี แชนเจนท์, เชนจิ้ง ไทมส์ เลส เอกาเรส, สเตรยด์ลองน์, ฟาร์ อเวย์ ฯลฯ ที่มีแนวคิดที่ไม่เหมือนใครกับการสร้างภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์และเรื่องจริงที่กำลังเกิดขึ้น โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับ กลุ่มรักร่วมเพศ ที่ประสบกับโศกนาฏกรรมพยานผู้รู้เห็นและรอดพ้นจากโรคเอดส์แต่ไม่สามารถแอบแฝงรอยแผลที่กรีดลึกในใจได้ ด้วยเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์จากทศวรรษที่1980 ยุคเริ่มแรกของการเรียนรู้โรคร้ายที่ใช้ชื่อว่าเอดส์กับการนำเรื่องราวการเรียนรู้ทั้งหมดนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่อิงจากเหตุการณ์จริงที่พวกเขาและเธอต้องประสบพบเจอกับโรคร้ายโดยไม่ได้ตั้งใจความรักความสัมพันธ์ที่ก่อเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิดและการแพร่ระบาดของโรคที่น่ารังเกลียด โดยครั้งนี้ “อังเดร เทรชีน” คือผู้ทำหน้าที่หยิบยกเรื่องราวของเอดส์ มาสร้างใหม่ให้เป็นภาพยนตร์ ประวัติศาสตร์ โดยได้เขาได้มีแนวคิด “ผมต้องการสร้างภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่ถูกหยิบยกมาจากเรื่องจริงและสิ่งที่ผมได้พบเห็น “THE WITNESSES” คือภาพยนตร์ไม่ใช่สารคดี ซึ่งภาพยนตร์แนวนี้ไม่มีมากนักอย่างน้อยก็ในฝรั่งเศสเองหรือแม้แต่อเมริกาก็ไม่มีให้ได้เห็นเหมือนดังเช่น “หนังสงครามเวียดนาม” ซึ่งแท้จริงผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นไม่เพียงมีผลกับปัจเจกบุคคลหากยังส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมทั้งปวง ดังนั้นมันจึงทำให้ผมอยากสร้างภาพยนตร์ที่ไม่ถูกมองผ่านเลยไป” “อังเดร เทรชีน” กล่าวติดตามชมโศกนาฏกรรม แห่งโรคร้าย “เอดส์” และ เพศที่สาม เข้ามาเกี่ยวข้องทางเลือกและข้อคิดแห่งการอยู่รอดอย่างสุขใจ ในภาพยนตร์ เรื่อง “THE WITNESSES ซ่อนรักไว้ข้างหลัง” 4 ตุลาคมนี้ประกาศก้องทั่วกันในโรงภาพยนตร์ในเครือเอเพกซ์ “The Witnesses ซ่อนรักไว้ข้างหลัง” หนังรักของเพศที่ 3 และเรื่องราวของการเรียนรู้โรคเอดส์ในยุคเริ่มแรก ราวๆ ปี 1984 ในประเทศฝรั่งเศสภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ซับซ้อนระหว่างการเดินทางของเกย์ 2 คน และคู่สามี-ภรรยา ผลงานของ “อังเดร เทชีน” (Andre Techine) ผู้กำกับฯ มือดีที่กำกับฯ ภาพยนตร์มาแล้วนับไม่ถ้วน มานู เด็กหนุ่มหน้าตาดีที่เดินทางเข้ามาปารีส เพื่อหางานทำ จนวันหนึ่งเขาได้พบกับ เอเดรียน แพทย์วัย 50 กว่า ผู้มั่งคั่งและหลงรัก มานู โดยเขาเองชักนำแนวทางที่ดีมาสู่ มานู ในทุกๆ เรื่อง เอเดรียน แนะนำให้ มานู รู้จักกับเพื่อนของเขาซาร่าห์ นักเขียนนิยายเกี่ยวกับเด็กและ เมห์ดี้ สามีผู้ป็นตำรวจ ทั้งคู่ต่างมีอิสรภาพทางความรักอย่างชัดเจนในการเลือกที่จะมีความสัมพันธ์แบบไม่ผูกมัดกับใครก็ได้ทั้งสี่คนได้เดินทางท่องเที่ยวร่วมกัน จนความรัก ความสัมพันธ์ได้เกิดขึ้นระหว่าง มานูและเมห์ดี้ พวกเขาต้องตกเป็นทาสแห่งความรักและความปารถนาทั้งสองแอบมีเซ็กส์กันเรื่อยมาแต่ความสุขไม่ได้อยู่ยั่งยืนพวกเขากลับต้องพบเจอกับโศกนาฏกรรมแห่งชีวิต เมื่อ มานู เด็กหนุ่มผู้ใสซื่อกลับเป็น “เอดส์” โรคร้ายที่ยังไม่รู้จักแพร่หลายนักในยุคนั้น ทั้งสี่คนต้องร่วมชะตากรรมครั้งนี้เรียนรู้ถึงความรักที่แท้จริงเรียนรู้ที่จะเข้าใจซึ่งกันและกันเรียนรู้ถึงการแพร่ระบาดของโรค “เอดส์” ในยุคสมัยที่ผู้คนยังมีความสัมพันธ์ทางเพศอย่างเสรีและเรียนรู้ที่จะหาทางยั้บยั้งโรคร้ายนี้ บทวิจารณ์ภาพยนตร์ The Witnesses ซ่อนรักไว้ข้างหลัง THE WITNESSES รัก…ออกแบบไม่ได้ นับแต่เชื้อไวรัสร้ายเริ่มแพร่ระบาดช่วงทศวรรษ 1980 ความสุขเคล้าความรื่นรมย์หลังสุมทุมพุ่มไม้ของบรรดาหนุ่มขายน้ำทั้งหลาย,รวมทั้งบรรดาสาวขายบริการริมถนนหนทางต่างพลอยฟ้าพลอยฝนประหวั่นพรั่นพรึงไปตามๆ กันตัวผู้กำกับ ‘อังเดร เทชีน’ ถึงกับกล่าวว่า“ก่อนที่เจ้าโรคเอดส์มันจะระบาด เสรีภาพทางเพศทำให้ผู้คนทำการทดลองกับความสัมพันธ์ของพวกเขาในทางที่สอดประสานโดยไร้ซึ่งความละอายและไร้ซึ่งการพูดคุยความสัมพันธ์ทางกายและมิตรภาพสามารถเป็นเรื่องที่นำมาทดลองได้โดยปราศจากความรู้สึกผิดช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ผมเรียกว่า ‘ช่วงเวลาแห่งความสุข’ The Witnesses อาจให้ภาพความสนุกนึกครึ้มบวกความน่ารักน่าชังของพ่อหนุ่มมานู ตั้งแต่ครั้งแรกที่คนดูเห็นเขากำลังรื่นรมย์ครื้นเครงสนุกอยู่กับชีวิตตามสุมทุมพุ่มไม้ในสวนสาธารณะร่วมกับเพื่อนเกย์ด้วยกันอีกหลายคน (หรือที่เรียกว่า ‘เซ็กซ์หมู่’) ก่อนที่เอเดรียงผู้รักนิยมชมชอบในความสัมพันธ์แบบเกย์จะดึงมานูมาเป็นคู่เคียงหวังซอกไซร้ให้สำราญใจแต่เขาก็มิอาจปฏิบัติกับมานูตามปรารถนาเบื้องลึกได้ดังต้องการ เมื่อมานูให้ความสนิทชิดเชื้อได้แค่ความรู้สึกดีๆที่มีต่อกัน ซึ่งเอเดรียงเองก็พร้อมตามใจและให้อิสระในวิถีทางแบบไม่ผูกมัดตามที่มานูต้องการโดยไม่เกี่ยงงอนเพราะเพียงแค่ได้อยู่ใกล้ชิดหยอกเย้ามานูและเที่ยวสนุกสนานร่วมกันบ้างบางครั้งมันก็เป็นสุขแล้วสำหรับเขา และการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี่เอง เอเดรียงพามานูมาล่องเรือที่บ้านริมทะเลของเพื่อนสนิทอย่างซาร่าห์และเมห์ดี้สองสามีภรรยาก็ได้ชักพาให้ความรู้สึกส่วนลึกกระตุ้นให้เมห์ดี้เกิดอากาหวั่นไหวกับมานูขึ้นมา ซึ่งฉากที่กระตุ้นให้ฮอร์นโมนมาดแมนชายชาติตำรวจต้องสั่นสะท้านก็คือ เมื่อซาร่าห์กับเอเดรียงทั้งคู่กำลังนอนพักผ่อนอยู่ที่ริมชายหาดส่วนคู่ของเมห์ดี้กับมานูกำลังว่ายน้ำร่วมกันอย่างเมามันส์อยู่นั้นทว่าระหว่างทางว่ายกลับ มานูเกิดจมน้ำแล้วเมห์ดี้ก็ได้ดำดิ่งลงไปช่วยสายใยความผูกพันจากจุดช่วยชีวิตนี้เองจึงได้ชักใยก่อร่างสร้างตัวในเวลาต่อมาให้ทั้งสองเกิดอาการต้องตาต้องใจปิ๊งปั๊งรักกันเข้าทันทีและบานปลายดังชายแตกเนื้อหนุ่มคึกคะนองมีเซ็กซ์ร่วมกันบ่อยครั้งเมื่อสบโอกาส (หรือเรียกว่าแทบจะทุกวัน) โดยที่วันๆ ซาร่าห์ก็ไม่ได้สนใจอะไรต่อสามีมากนัก เธอง่วนแต่ปั่นต้นฉบับ คิดพล็อตหัวแทบแตก กระทั่งลูกน้อยที่นอนโยเยร้องหิวนมเธอแทบไม่เคยสนใจเลยด้วยซ้ำแต่ทางฝ่ายของเอเดรียงนี่สิกลับเป็นขั้วตรงกันข้ามกับซาร่าห์ เขาเหมือนคนอกหักทุกข์ระทมตรมใจที่อยู่ๆมานูก็เงียบหายลาจากแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย…จนกระทั่งได้ล่วงรู้ความสัมพันธ์แบบสายฟ้าแลบที่มานูปันใจให้เมห์ดี้นี่แหละ เขาถึงกับบ้าคลั่งและเครียดจนกระดกเหล้าได้อย่างกับน้ำเปล่าและโกรธมานูเป็นฟืนเป็นไฟเสมือนความไว้ใจที่ตนมีให้ถูกหักหลัง (นี่หนอความหลงมัวเมาในรูปรสแห่งรักจนต้องระทม) แรกเริ่มเขียนบทวิจารณ์ชิ้นนี้ ผมกะบรรยายสรรพคุณรูปแบบของ ‘รักร่วมเพศ’ ของตัวละครที่เข้ามาพัวพันและอินังพันตูรักซึ้งกับมานู แต่เผอิ๊ญเผอิญ เจอคุณผู้กำกับอังเดรเบรคดังเอี๊ยด! ไว้ซะก่อนว่า “การตีความหมายแบบนั้นเหมือนเป็นการทำอะไรตามอำเภอใจมากเพราะผมไม่ได้อธิบายลักษณะของพวกเขาเอาไว้แบบนั้นเลย ผมยอมรับไม่ได้ที่ตัวละครของผมถูกลดค่าลงไปเพราะพฤติกรรมทางเพศของเขาหรือของเธอ” (จ้าเมื่อคุณพูดมาเราจะขอเลี่ยงประเด็นนี้ไปซะ) ซึ่งพอดูไปเรื่อยๆก็พอเข้าใจว่าทุกคนล้วนมีสิทธิชอบธรรมในการเป็นตัวของตัวเองดังที่ผู้กำกับเขากล่าวไว้จริงๆ เพราะไม่ว่ามานูอยากจะใช้ชีวิตสนุกสนานหรืออยากจะไปมั่วกับใครมันก็เป็นสิทธิ์ของเขาและไม่ว่านายตำรวจลูกหนึ่งอย่างเมห์ดี้จะมาสปาร์ครักติดหนึบในรสเพศกับมานู โดยที่กลับบ้านก็ยังไปมีอะไรกับภรรยามันก็เป็นสิทธิ์ชอบธรรมของเขาหรือไม่ว่าฐานะการงานการเงินมั่งคั่ง ความมีหน้ามีตาเป็นคุณหมอใหญ่ของ เอเดรียงหลังเลิกงานจะแวะไปซื้อบริการจากหนุ่มหล่อเหลาหน้าตาดีซักกี่คนเพื่อมาบำเรอบำรุงความสุขของตนมันก็เป็นสิทธิส่วนตัวของเขาเช่นกันมิใช่หรือ! ซึ่งปรารถนาส่วนลึกหรือสิทธิส่วนบุคคลของแต่ละคนนั้นจะว่าไปมันก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเกินกว่าที่คนภายนอกอย่างเราจะเข้าใจ ผมชื่นชอบตัวละครอย่างจูดี้ พี่สาวของมานูตรงความพยายามพากเพียรที่จะเป็นนักร้องโอเปร่าเริ่มแรกเธอจะมีบทบาทเป็นเพียงพี่สาวที่มีชีวิตเรื่อยเอื่อยเฉื่อยไม่สนุกครึกครื้นเริงร่าเหมือนน้องชายเธอมาดมั่นคว้าฝันเพียงอย่างเดียวกับการโหยหวนเอื้อนลูกคอของเธอแต่เอ่อพอหนังเริ่มให้รายละเอียดตัวละครตัวนี้เพิ่มมากขึ้น เราจึงเริ่มรู้สึกขึ้นมาในทันทีเลยว่า จูดี้แม้ดูเปล่าเปลี่ยว ดูไม่ค่อยสังสรรค์มีเพื่อนมากมายอย่างใครเขา แต่เธอก็ดูท่าจะเป็นคนหนึ่งที่เรียนรู้จักการอยู่คนเดียวได้โดยไม่ต้องพึ่งพาความรักจากคนอื่นเข้ามาอีนังพันตูมากนักแม้ปากเธอจะบอกว่าเธอไม่ได้ตัดขาดจากการมีความสัมพันธ์หรือการสร้างครอบครัวก็ตามแต่เธอก็ไม่ได้โหยไห้หรือเรียกร้องชีวิตคู่มากเหมือนที่คนอื่นๆ พยายามไขว่คว้า เธอเป็นตัวละครที่ในโลกของความเป็นจริงยืนพื้นอยู่น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่หวังพึ่งพิงชีวิตไว้กับการควานหารักแท้กันแทบทั้งสิ้น! กระทั่งเจ้าเชื้อร้ายหรือที่เรียกกันว่าเอดส์ มาพ้องแผ้วย่ำกรายสู่ชีวิตของมานูนั่นแหละมันจึงเป็นช่วงเวลาสืบทอดสำหรับ ‘คนที่รัก’ ต้องมาแบกรับผลพวงที่เกิดขึ้นกับเขาซึ่งหนังก็มิได้ใจไม้ไส้ระกำจนเกินไปว่าทุกคนจะต้องรังเกียจเดียดฉันท์พานหนีไปเสียหมดทิ้งเขาให้เผชิญโรคร้ายเพียงลำพังแต่หนังกลับให้ภาพความเห็นใจน่าเวทนาและสงสารต่อผู้พานพบประสพโรคร้ายอย่างนี้ แรกเริ่มที่ทุกคนรับรู้ว่ามานูติดเชื้อหนึ่งในคนที่ใกล้ชิดสัมพันธ์ลึกซึ้งมากที่สุดอย่างเมห์ดี้ ถึงกลับสลดหดหู่และร้องไห้พร้อมสงสารตัวเอง (ประมาณว่า กูต้องติดเชื้อด้วยแน่) แต่พอผลเลือดระบุว่าทั้งเขาและภรรยาไม่ติดเชื้อ (เพราะพ่อเมห์ดี้กลับบ้านมามั่วกับหล่อนด้วย) เท่านี้แหละ ความสงสารก็พรั่งพรูหลั่งไหลทะลักมาสู่มานูผู้เคราะห์ร้าย โดยมีเอเดรียงอาสาเยียวยาเฝ้าไข้และพยายามปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วยการหาทางผลิตตัวยาเพื่อป้องกันเจ้าโรคร้ายชนิดนี้ (ซึ่งนับจากเริ่มมีเชื้อเอดส์ระบาดมาจนถึงปัจจุบัน- ยังไม่มีตัวยาใดสามารถพิชิตเจ้าโรคร้ายนี้ได้เลยผลของยาทำได้เพียงบรรเทาและชะลออาการของผู้ป่วยเท่านั้นเอง) และนั่นคือบทสรุป‘ช่วงเวลาแห่งความสุข’ ของมานูที่กำลังจะผ่านพ้นไป โดยส่วนตัวผมกลับรู้สึกมาตลอดว่าซาร่าห์เป็นผู้หญิงที่มีอารมณ์ร้ายลึกที่ค่อนข้างน่ากลัวยังไงไม่รู้ ถึงแม้เธอไม่เคยโกรธเรื่องสามีไปมีความสัมพันธ์นอกบ้านกับใคร (โดยเฉพาะผู้ชายด้วยกันอย่างมานู) แต่เธอกลับดูน่ากลัวพิลึก เมื่อเธอพร้อมอภัยให้ผัวที่ไม่นำเชื้อร้ายมาติดแถมยังกล้าจูบปากมานูเพื่อบ่งบอกสถานภาพความสัมพันธ์ว่าเธอมิได้รังเกียจรังงอนหรือดูแคลนกับสภาพอันน่าเวทนาของเขาแต่อย่างใดแต่สิ่งที่ผมรู้สึกกลัวในตัวเธอมาตลอดมันส่งผลในตอนท้ายๆของเรื่องนี่แหละซึ่งมันก็ตรงกับความรู้สึกนึกคิดของตัวเองด้วยเช่นกัน! นั่นคือ เธอฉลาดในการมองความเป็นไปของความสัมพันธ์ของสามีและมองผลร้ายของเชื้อเอดส์ที่กำลังทำลายชีวิตของมานูควบคู่กันไป โดยทำการจดบันทึกและตอกแป้นพิมพ์ดีดอย่างบ้าคลั่งเมื่ออารมณ์ศิลปินพรั่งพรู แถมให้เทปบันทึกกับมานูไว้ระบายความในใจทุกอย่างที่ผ่านมาในชีวิตก่อนสิ้นลมหายใจเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนิยายเล่มใหม่ของเธอ (แทนการเขียนหนังสือเด็กที่เธอบอกว่า “ฉันเกลียดเด็ก”) อนึ่งโปสเตอร์ในหนังเรื่องนี้ก็ฉลาดพอที่จะซุกซ่อนเป็นนัยน์แล้วด้วยว่าซาร่าห์ เธอซ่อนเร้นความร้ายกาจไว้เพียงครึ่งหน้าเพื่อให้ทุกคน (รวมทั้งคนดู) ได้ตายใจจากภาพที่เราเห็นหน้าเธอจะดูบึ้งตึงเย็นชาและไม่อินังขังขอบกับตัวละครที่เหลือเลยขณะที่เอเดรียง,เมห์ดี้และมานูทุกคนต่างกำลังยิ้มร่า แต่สำหรับซาร่าห์เธอกลับซุกซ่อนเงามืดอีกด้านหนึ่งไว้อย่างน่าสะพรึง! |
The Witnesses ซ่อนรักไว้ข้างหลัง
ชื่อภาพยนตร์ :The Witnesses พลิกประวัติศาสตร์ โรคเอดส์ ใน ช่วงทศวรรษที่ 1980 อีกครั้งกับโรคร้ายที่ผู้คนต้องเสียชีวิตด้วยโรคร้ายนี้โดยไม่มีข้อกังขาจนมีผลสืบเนื่องมาจากการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “THE WITNESSES ซ่อนรักไว้ข้างหลัง” ผลงานการกำกับการแสดงของ “อังเดร เทรชีน” ผู้กำกับฯ หนุ่มมากฝีมือจากเมืองน้ำหอมที่เคยฝากผลงานมาแล้วมากมายอาทิ เทมปส์ ควี แชนเจนท์, เชนจิ้ง ไทมส์ เลส เอกาเรส, สเตรยด์ลองน์, ฟาร์ อเวย์ ฯลฯ ที่มีแนวคิดที่ไม่เหมือนใครกับการสร้างภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์และเรื่องจริงที่กำลังเกิดขึ้น โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับ กลุ่มรักร่วมเพศ ที่ประสบกับโศกนาฏกรรมพยานผู้รู้เห็นและรอดพ้นจากโรคเอดส์แต่ไม่สามารถแอบแฝงรอยแผลที่กรีดลึกในใจได้ ด้วยเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์จากทศวรรษที่1980 ยุคเริ่มแรกของการเรียนรู้โรคร้ายที่ใช้ชื่อว่าเอดส์กับการนำเรื่องราวการเรียนรู้ทั้งหมดนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่อิงจากเหตุการณ์จริงที่พวกเขาและเธอต้องประสบพบเจอกับโรคร้ายโดยไม่ได้ตั้งใจความรักความสัมพันธ์ที่ก่อเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิดและการแพร่ระบาดของโรคที่น่ารังเกลียด โดยครั้งนี้ “อังเดร เทรชีน” คือผู้ทำหน้าที่หยิบยกเรื่องราวของเอดส์ มาสร้างใหม่ให้เป็นภาพยนตร์ ประวัติศาสตร์ โดยได้เขาได้มีแนวคิด “ผมต้องการสร้างภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่ถูกหยิบยกมาจากเรื่องจริงและสิ่งที่ผมได้พบเห็น “THE WITNESSES” คือภาพยนตร์ไม่ใช่สารคดี ซึ่งภาพยนตร์แนวนี้ไม่มีมากนักอย่างน้อยก็ในฝรั่งเศสเองหรือแม้แต่อเมริกาก็ไม่มีให้ได้เห็นเหมือนดังเช่น “หนังสงครามเวียดนาม” ซึ่งแท้จริงผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นไม่เพียงมีผลกับปัจเจกบุคคลหากยังส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมทั้งปวง ดังนั้นมันจึงทำให้ผมอยากสร้างภาพยนตร์ที่ไม่ถูกมองผ่านเลยไป” “อังเดร เทรชีน” กล่าวติดตามชมโศกนาฏกรรม แห่งโรคร้าย “เอดส์” และ เพศที่สาม เข้ามาเกี่ยวข้องทางเลือกและข้อคิดแห่งการอยู่รอดอย่างสุขใจ ในภาพยนตร์ เรื่อง “THE WITNESSES ซ่อนรักไว้ข้างหลัง” 4 ตุลาคมนี้ประกาศก้องทั่วกันในโรงภาพยนตร์ในเครือเอเพกซ์ “The Witnesses ซ่อนรักไว้ข้างหลัง” หนังรักของเพศที่ 3 และเรื่องราวของการเรียนรู้โรคเอดส์ในยุคเริ่มแรก ราวๆ ปี 1984 ในประเทศฝรั่งเศสภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ซับซ้อนระหว่างการเดินทางของเกย์ 2 คน และคู่สามี-ภรรยา ผลงานของ “อังเดร เทชีน” (Andre Techine) ผู้กำกับฯ มือดีที่กำกับฯ ภาพยนตร์มาแล้วนับไม่ถ้วน มานู เด็กหนุ่มหน้าตาดีที่เดินทางเข้ามาปารีส เพื่อหางานทำ จนวันหนึ่งเขาได้พบกับ เอเดรียน แพทย์วัย 50 กว่า ผู้มั่งคั่งและหลงรัก มานู โดยเขาเองชักนำแนวทางที่ดีมาสู่ มานู ในทุกๆ เรื่อง เอเดรียน แนะนำให้ มานู รู้จักกับเพื่อนของเขาซาร่าห์ นักเขียนนิยายเกี่ยวกับเด็กและ เมห์ดี้ สามีผู้ป็นตำรวจ ทั้งคู่ต่างมีอิสรภาพทางความรักอย่างชัดเจนในการเลือกที่จะมีความสัมพันธ์แบบไม่ผูกมัดกับใครก็ได้ทั้งสี่คนได้เดินทางท่องเที่ยวร่วมกัน จนความรัก ความสัมพันธ์ได้เกิดขึ้นระหว่าง มานูและเมห์ดี้ พวกเขาต้องตกเป็นทาสแห่งความรักและความปารถนาทั้งสองแอบมีเซ็กส์กันเรื่อยมาแต่ความสุขไม่ได้อยู่ยั่งยืนพวกเขากลับต้องพบเจอกับโศกนาฏกรรมแห่งชีวิต เมื่อ มานู เด็กหนุ่มผู้ใสซื่อกลับเป็น “เอดส์” โรคร้ายที่ยังไม่รู้จักแพร่หลายนักในยุคนั้น ทั้งสี่คนต้องร่วมชะตากรรมครั้งนี้เรียนรู้ถึงความรักที่แท้จริงเรียนรู้ที่จะเข้าใจซึ่งกันและกันเรียนรู้ถึงการแพร่ระบาดของโรค “เอดส์” ในยุคสมัยที่ผู้คนยังมีความสัมพันธ์ทางเพศอย่างเสรีและเรียนรู้ที่จะหาทางยั้บยั้งโรคร้ายนี้ บทวิจารณ์ภาพยนตร์ The Witnesses ซ่อนรักไว้ข้างหลัง THE WITNESSES รัก…ออกแบบไม่ได้ นับแต่เชื้อไวรัสร้ายเริ่มแพร่ระบาดช่วงทศวรรษ 1980 ความสุขเคล้าความรื่นรมย์หลังสุมทุมพุ่มไม้ของบรรดาหนุ่มขายน้ำทั้งหลาย,รวมทั้งบรรดาสาวขายบริการริมถนนหนทางต่างพลอยฟ้าพลอยฝนประหวั่นพรั่นพรึงไปตามๆ กันตัวผู้กำกับ ‘อังเดร เทชีน’ ถึงกับกล่าวว่า“ก่อนที่เจ้าโรคเอดส์มันจะระบาด เสรีภาพทางเพศทำให้ผู้คนทำการทดลองกับความสัมพันธ์ของพวกเขาในทางที่สอดประสานโดยไร้ซึ่งความละอายและไร้ซึ่งการพูดคุยความสัมพันธ์ทางกายและมิตรภาพสามารถเป็นเรื่องที่นำมาทดลองได้โดยปราศจากความรู้สึกผิดช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ผมเรียกว่า ‘ช่วงเวลาแห่งความสุข’ The Witnesses อาจให้ภาพความสนุกนึกครึ้มบวกความน่ารักน่าชังของพ่อหนุ่มมานู ตั้งแต่ครั้งแรกที่คนดูเห็นเขากำลังรื่นรมย์ครื้นเครงสนุกอยู่กับชีวิตตามสุมทุมพุ่มไม้ในสวนสาธารณะร่วมกับเพื่อนเกย์ด้วยกันอีกหลายคน (หรือที่เรียกว่า ‘เซ็กซ์หมู่’) ก่อนที่เอเดรียงผู้รักนิยมชมชอบในความสัมพันธ์แบบเกย์จะดึงมานูมาเป็นคู่เคียงหวังซอกไซร้ให้สำราญใจแต่เขาก็มิอาจปฏิบัติกับมานูตามปรารถนาเบื้องลึกได้ดังต้องการ เมื่อมานูให้ความสนิทชิดเชื้อได้แค่ความรู้สึกดีๆที่มีต่อกัน ซึ่งเอเดรียงเองก็พร้อมตามใจและให้อิสระในวิถีทางแบบไม่ผูกมัดตามที่มานูต้องการโดยไม่เกี่ยงงอนเพราะเพียงแค่ได้อยู่ใกล้ชิดหยอกเย้ามานูและเที่ยวสนุกสนานร่วมกันบ้างบางครั้งมันก็เป็นสุขแล้วสำหรับเขา และการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี่เอง เอเดรียงพามานูมาล่องเรือที่บ้านริมทะเลของเพื่อนสนิทอย่างซาร่าห์และเมห์ดี้สองสามีภรรยาก็ได้ชักพาให้ความรู้สึกส่วนลึกกระตุ้นให้เมห์ดี้เกิดอากาหวั่นไหวกับมานูขึ้นมา ซึ่งฉากที่กระตุ้นให้ฮอร์นโมนมาดแมนชายชาติตำรวจต้องสั่นสะท้านก็คือ เมื่อซาร่าห์กับเอเดรียงทั้งคู่กำลังนอนพักผ่อนอยู่ที่ริมชายหาดส่วนคู่ของเมห์ดี้กับมานูกำลังว่ายน้ำร่วมกันอย่างเมามันส์อยู่นั้นทว่าระหว่างทางว่ายกลับ มานูเกิดจมน้ำแล้วเมห์ดี้ก็ได้ดำดิ่งลงไปช่วยสายใยความผูกพันจากจุดช่วยชีวิตนี้เองจึงได้ชักใยก่อร่างสร้างตัวในเวลาต่อมาให้ทั้งสองเกิดอาการต้องตาต้องใจปิ๊งปั๊งรักกันเข้าทันทีและบานปลายดังชายแตกเนื้อหนุ่มคึกคะนองมีเซ็กซ์ร่วมกันบ่อยครั้งเมื่อสบโอกาส (หรือเรียกว่าแทบจะทุกวัน) โดยที่วันๆ ซาร่าห์ก็ไม่ได้สนใจอะไรต่อสามีมากนัก เธอง่วนแต่ปั่นต้นฉบับ คิดพล็อตหัวแทบแตก กระทั่งลูกน้อยที่นอนโยเยร้องหิวนมเธอแทบไม่เคยสนใจเลยด้วยซ้ำแต่ทางฝ่ายของเอเดรียงนี่สิกลับเป็นขั้วตรงกันข้ามกับซาร่าห์ เขาเหมือนคนอกหักทุกข์ระทมตรมใจที่อยู่ๆมานูก็เงียบหายลาจากแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย…จนกระทั่งได้ล่วงรู้ความสัมพันธ์แบบสายฟ้าแลบที่มานูปันใจให้เมห์ดี้นี่แหละ เขาถึงกับบ้าคลั่งและเครียดจนกระดกเหล้าได้อย่างกับน้ำเปล่าและโกรธมานูเป็นฟืนเป็นไฟเสมือนความไว้ใจที่ตนมีให้ถูกหักหลัง (นี่หนอความหลงมัวเมาในรูปรสแห่งรักจนต้องระทม) แรกเริ่มเขียนบทวิจารณ์ชิ้นนี้ ผมกะบรรยายสรรพคุณรูปแบบของ ‘รักร่วมเพศ’ ของตัวละครที่เข้ามาพัวพันและอินังพันตูรักซึ้งกับมานู แต่เผอิ๊ญเผอิญ เจอคุณผู้กำกับอังเดรเบรคดังเอี๊ยด! ไว้ซะก่อนว่า “การตีความหมายแบบนั้นเหมือนเป็นการทำอะไรตามอำเภอใจมากเพราะผมไม่ได้อธิบายลักษณะของพวกเขาเอาไว้แบบนั้นเลย ผมยอมรับไม่ได้ที่ตัวละครของผมถูกลดค่าลงไปเพราะพฤติกรรมทางเพศของเขาหรือของเธอ” (จ้าเมื่อคุณพูดมาเราจะขอเลี่ยงประเด็นนี้ไปซะ) ซึ่งพอดูไปเรื่อยๆก็พอเข้าใจว่าทุกคนล้วนมีสิทธิชอบธรรมในการเป็นตัวของตัวเองดังที่ผู้กำกับเขากล่าวไว้จริงๆ เพราะไม่ว่ามานูอยากจะใช้ชีวิตสนุกสนานหรืออยากจะไปมั่วกับใครมันก็เป็นสิทธิ์ของเขาและไม่ว่านายตำรวจลูกหนึ่งอย่างเมห์ดี้จะมาสปาร์ครักติดหนึบในรสเพศกับมานู โดยที่กลับบ้านก็ยังไปมีอะไรกับภรรยามันก็เป็นสิทธิ์ชอบธรรมของเขาหรือไม่ว่าฐานะการงานการเงินมั่งคั่ง ความมีหน้ามีตาเป็นคุณหมอใหญ่ของ เอเดรียงหลังเลิกงานจะแวะไปซื้อบริการจากหนุ่มหล่อเหลาหน้าตาดีซักกี่คนเพื่อมาบำเรอบำรุงความสุขของตนมันก็เป็นสิทธิส่วนตัวของเขาเช่นกันมิใช่หรือ! ซึ่งปรารถนาส่วนลึกหรือสิทธิส่วนบุคคลของแต่ละคนนั้นจะว่าไปมันก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเกินกว่าที่คนภายนอกอย่างเราจะเข้าใจ ผมชื่นชอบตัวละครอย่างจูดี้ พี่สาวของมานูตรงความพยายามพากเพียรที่จะเป็นนักร้องโอเปร่าเริ่มแรกเธอจะมีบทบาทเป็นเพียงพี่สาวที่มีชีวิตเรื่อยเอื่อยเฉื่อยไม่สนุกครึกครื้นเริงร่าเหมือนน้องชายเธอมาดมั่นคว้าฝันเพียงอย่างเดียวกับการโหยหวนเอื้อนลูกคอของเธอแต่เอ่อพอหนังเริ่มให้รายละเอียดตัวละครตัวนี้เพิ่มมากขึ้น เราจึงเริ่มรู้สึกขึ้นมาในทันทีเลยว่า จูดี้แม้ดูเปล่าเปลี่ยว ดูไม่ค่อยสังสรรค์มีเพื่อนมากมายอย่างใครเขา แต่เธอก็ดูท่าจะเป็นคนหนึ่งที่เรียนรู้จักการอยู่คนเดียวได้โดยไม่ต้องพึ่งพาความรักจากคนอื่นเข้ามาอีนังพันตูมากนักแม้ปากเธอจะบอกว่าเธอไม่ได้ตัดขาดจากการมีความสัมพันธ์หรือการสร้างครอบครัวก็ตามแต่เธอก็ไม่ได้โหยไห้หรือเรียกร้องชีวิตคู่มากเหมือนที่คนอื่นๆ พยายามไขว่คว้า เธอเป็นตัวละครที่ในโลกของความเป็นจริงยืนพื้นอยู่น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่หวังพึ่งพิงชีวิตไว้กับการควานหารักแท้กันแทบทั้งสิ้น! กระทั่งเจ้าเชื้อร้ายหรือที่เรียกกันว่าเอดส์ มาพ้องแผ้วย่ำกรายสู่ชีวิตของมานูนั่นแหละมันจึงเป็นช่วงเวลาสืบทอดสำหรับ ‘คนที่รัก’ ต้องมาแบกรับผลพวงที่เกิดขึ้นกับเขาซึ่งหนังก็มิได้ใจไม้ไส้ระกำจนเกินไปว่าทุกคนจะต้องรังเกียจเดียดฉันท์พานหนีไปเสียหมดทิ้งเขาให้เผชิญโรคร้ายเพียงลำพังแต่หนังกลับให้ภาพความเห็นใจน่าเวทนาและสงสารต่อผู้พานพบประสพโรคร้ายอย่างนี้ แรกเริ่มที่ทุกคนรับรู้ว่ามานูติดเชื้อหนึ่งในคนที่ใกล้ชิดสัมพันธ์ลึกซึ้งมากที่สุดอย่างเมห์ดี้ ถึงกลับสลดหดหู่และร้องไห้พร้อมสงสารตัวเอง (ประมาณว่า กูต้องติดเชื้อด้วยแน่) แต่พอผลเลือดระบุว่าทั้งเขาและภรรยาไม่ติดเชื้อ (เพราะพ่อเมห์ดี้กลับบ้านมามั่วกับหล่อนด้วย) เท่านี้แหละ ความสงสารก็พรั่งพรูหลั่งไหลทะลักมาสู่มานูผู้เคราะห์ร้าย โดยมีเอเดรียงอาสาเยียวยาเฝ้าไข้และพยายามปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วยการหาทางผลิตตัวยาเพื่อป้องกันเจ้าโรคร้ายชนิดนี้ (ซึ่งนับจากเริ่มมีเชื้อเอดส์ระบาดมาจนถึงปัจจุบัน- ยังไม่มีตัวยาใดสามารถพิชิตเจ้าโรคร้ายนี้ได้เลยผลของยาทำได้เพียงบรรเทาและชะลออาการของผู้ป่วยเท่านั้นเอง) และนั่นคือบทสรุป‘ช่วงเวลาแห่งความสุข’ ของมานูที่กำลังจะผ่านพ้นไป โดยส่วนตัวผมกลับรู้สึกมาตลอดว่าซาร่าห์เป็นผู้หญิงที่มีอารมณ์ร้ายลึกที่ค่อนข้างน่ากลัวยังไงไม่รู้ ถึงแม้เธอไม่เคยโกรธเรื่องสามีไปมีความสัมพันธ์นอกบ้านกับใคร (โดยเฉพาะผู้ชายด้วยกันอย่างมานู) แต่เธอกลับดูน่ากลัวพิลึก เมื่อเธอพร้อมอภัยให้ผัวที่ไม่นำเชื้อร้ายมาติดแถมยังกล้าจูบปากมานูเพื่อบ่งบอกสถานภาพความสัมพันธ์ว่าเธอมิได้รังเกียจรังงอนหรือดูแคลนกับสภาพอันน่าเวทนาของเขาแต่อย่างใดแต่สิ่งที่ผมรู้สึกกลัวในตัวเธอมาตลอดมันส่งผลในตอนท้ายๆของเรื่องนี่แหละซึ่งมันก็ตรงกับความรู้สึกนึกคิดของตัวเองด้วยเช่นกัน! นั่นคือ เธอฉลาดในการมองความเป็นไปของความสัมพันธ์ของสามีและมองผลร้ายของเชื้อเอดส์ที่กำลังทำลายชีวิตของมานูควบคู่กันไป โดยทำการจดบันทึกและตอกแป้นพิมพ์ดีดอย่างบ้าคลั่งเมื่ออารมณ์ศิลปินพรั่งพรู แถมให้เทปบันทึกกับมานูไว้ระบายความในใจทุกอย่างที่ผ่านมาในชีวิตก่อนสิ้นลมหายใจเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนิยายเล่มใหม่ของเธอ (แทนการเขียนหนังสือเด็กที่เธอบอกว่า “ฉันเกลียดเด็ก”) อนึ่งโปสเตอร์ในหนังเรื่องนี้ก็ฉลาดพอที่จะซุกซ่อนเป็นนัยน์แล้วด้วยว่าซาร่าห์ เธอซ่อนเร้นความร้ายกาจไว้เพียงครึ่งหน้าเพื่อให้ทุกคน (รวมทั้งคนดู) ได้ตายใจจากภาพที่เราเห็นหน้าเธอจะดูบึ้งตึงเย็นชาและไม่อินังขังขอบกับตัวละครที่เหลือเลยขณะที่เอเดรียง,เมห์ดี้และมานูทุกคนต่างกำลังยิ้มร่า แต่สำหรับซาร่าห์เธอกลับซุกซ่อนเงามืดอีกด้านหนึ่งไว้อย่างน่าสะพรึง! |
สรุปรางวัลออสการ์ประจำปี 2016 (ครั้งที่ 88)
เทศกาลสุดยิ่งใหญ่ในวงการฮอลลีวูดได้กลับมาอีกครั้งกับการประกาศผลรางวัลออสการ์ ประจำปี 2016 (ครั้งที่ 88) เรียกได้ว่ามีทั้งภาพยนตร์และนักแสดงต่างๆ มากมายที่เข้าชิงรางวัลในปีนี้
รีวิวหนัง : Get Smart พยัคฆ์ฉลาดเก๊กไม่เลิก
Get Smart พยัคฆ์ฉลาดเก๊กไม่เลิก วันที่เข้าฉาย : 19-06-2008