Home > เรื่องเสียว > เล่าเรื่องเสียว วิจัย ผลกระทบกับสังคมและทางออกของปัญหา

เล่าเรื่องเสียว วิจัย ผลกระทบกับสังคมและทางออกของปัญหา

โพสเมื่อ วันที่ 10 October 2016 | เปิดอ่าน 1,113 views | หมวดหมู่ : เรื่องเสียว

เล่าเรื่องเสียว

         เล่าเรื่องเสียว ปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนจากสังคมภาคเกษตรกรรมเป็นสังคมภาคอุตสาหกรรมและมีการเคลื่อนย้ายจากสังคมชนบทเข้าสู่สังคมเมืองส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกด้านโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นวัยรุ่นมักจะได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนวัยรุ่นเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นโดยเฉพาะเรื่องเพศวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคมซึ่งเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามวัยวัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ในช่วงระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงจากเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่นอกจากนี้ยังเป็นระยะที่ก้าวขึ้นมามีบทบาททางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองในระยะเวลาอันใกล้ปัญหาสำคัญที่พบมากในวัยรุ่นคือปัญหาเรื่องพฤติกรรมทางเพศซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นการคบเพื่อนต่างเพศที่ไม่เหมาะสมพฤติกรรมมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อยการไม่ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์การดื่มสุราหรือใช้ยาเสพติดก่อนมีเพศสัมพันธ์พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และการทำแท้ง

บทความอื่นๆ เกี่ยวกับ  เรื่องเสียว

นอกจากนี้ปัจจุบันวัยรุ่นต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยเปิดรับวัฒนธรรมจากต่างประเทศที่แพร่เข้ามาในสังคมไทยอย่างรวดเร็วเช่นค่านิยมการบริโภคการแต่งกายที่เปิดเผยให้เห็นสัดส่วนของร่างกายค่านิยมทางเพศจากสื่อสารมวลชนทางโทรทัศน์ภาพยนตร์อินเตอร์เน็ตวีซีดีหนังสือลามกรูปภาพที่ยั่วยุทางเพศซึ่งส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความสนใจพฤติกรรมทางเพศมากขึ้นมีการคบเพื่อนต่างเพศไปเที่ยวตามแหล่งสถานบันเทิงมีการสัมผัสร่างกายกันซึ่งเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงทางเพศทำให้เกิดปัญหาทางเพศตามมาอย่างคาดไม่ถึงจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นปัญหาทางเพศที่พบบ่อยในวัยรุ่นได้แก่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคเอดส์การตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อยการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ทำให้มีผลเสียต่อสุขภาพสูญเสียโอกาสทางการศึกษาและการทำงานในอนาคตรวมทั้งเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองและครอบครัว

เพศเป็นเรื่องที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคน คุณภาพชีวิตของคนจะดีหรือเลวส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลและบทบาทเรื่องเพศเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่ง ซิกมัน ฟรอยด์ ได้กล่าวถึงเรื่องเพศว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิตของคน เพราะเรื่องเพศเป็นสาเหตุทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์

พฤติกรรมเกี่ยวกับเพศเป็นสิ่งที่ธรรมชาติกำหนดให้มีขึ้นในมนุษย์เพื่อทำให้มีการสืบเผ่าพันธุ์ของมนุษย์มิให้สูญหายพฤติกรรมดังกล่าวจะเริ่มขึ้นเมื่อมนุษย์เจริญเติบโตจนถึงวัยหนึ่งเรียกว่าวัยรุ่นวัยนี้เป็นวัยสำคัญของชีวิตก่อนเป็นผู้ใหญ่ช่วงนี้วัยรุ่นจะมีร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากต่อมใต้สมองขับฮอร์โมนออกมากระตุ้นการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์และกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลให้ลักษณะทางเพศของวัยรุ่นเด่นชัดขึ้นในขณะเดียวกันฮอร์โมนเหล่านี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และความรู้สึกทางเพศมีอารมณ์อ่อนไหวง่ายโกรธง่ายมีความรู้สึกรุนแรงวิตกกังวลและดื้อรั้นขาดเหตุผลจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และสังคมของเด็กวัยนี้ทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมเป็นครึ่งเด็กครึ่งผู้ใหญ่และส่งผลให้วัยรุ่นสับสนในบทบาทของตนเองโดยบางครั้งจะเลียนแบบผู้ใหญ่ในเรื่องการคบเพื่อนต่างเพศนึกถึงการมีครอบครัวมีอาชีพและต้องการแสวงหาอิสระเสรีการแต่งกายตามสมัยนิยมและการรับวัฒนธรรมใหม่ๆ แปลกๆ ได้รวดเร็วโดยเฉพาะวัยรุ่นในเมืองจะได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาก (อาภาภรณ์ เตชรัตน์. 2546 : บทนำ) หากไม่ได้เตรียมตัวอย่างถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กอาจทำให้เกิดพฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสมเกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศนำไปสู่ปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมได

จากรายงานสำรวจของสถาบันประชากรและสังคมร่วมกับสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  ในปี ค..2003   พฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในประเทศไทยพบว่า อายุเฉลี่ยของวัยรุ่นที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกคือ อายุ 16 ปี  และจากข้อมูลของดร.อมรวิช นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ ในรอบปี 2548-2549 ในเด็กมัธยมถึงอุดมศึกษา พบว่ามีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16 เป็นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมา และในกลุ่มนี้ร้อยละ 30 เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ในขณะที่การแต่งงานช้าลงโดยเฉลี่ยอายุ 24 ปี  จะเห็นได้ว่าช่องว่างที่เกิดขึ้นจากค่าเฉลี่ยของการเริ่มมีเพศสัมพันธ์กับการแต่งงานราว 8 ปีนี้ สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์มากขึ้นและยาวนานขึ้นและเป็นการมีเพศสัมพันธ์แบบขาดความรับผิดชอบ (sex without responsibilities) หรือสังคมยังไม่ยอมรับ โดยมีปัจจัยที่เป็นเหตุกระตุ้นหลายประการเช่นการเข้าวัยรุ่นที่เร็วขึ้น การกระตุ้นโดยสื่อที่ไม่เหมาะสม ทำให้ปัญหาสังคมอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์และผลของการกระทำทวีความรุนแรงและสลับซับซ้อนมากขึ้นเห็นได้จากการหย่าร้างที่เพิ่มขึ้นหรือฝ่ายชายทิ้งไปปล่อยให้ฝ่ายหญิงแบกรับภาระและความเครียดทั้งหมด

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมทางเพศของกลุ่มวัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคเอดส์ การตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ การทำแท้งเถื่อน การทอดทิ้งเด็กการเป็นโสเภณีเด็ก รวมถึงการขาดโอกาสทางการศึกษาทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ การขาดเจตคติ และทักษะปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องเพศ จึงอาจทำให้นักเรียนเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์โดยนักเรียนเองไม่ได้ตั้งใจหรือสิ่งแวดล้อมมีส่วนทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยงได้

ด้านความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ เล่าเรื่องเสียว

จากผลการวิจัยพบว่าทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีความรู้เฉลี่ยเกี่ยวกับเรื่องเพศระดับ

ปานกลาง โดยที่นักเรียนหญิงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนชาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัจจุบันมีข่าวเรื่องกับเรื่องเพศทั้งด้านที่ดีและไม่ดีมากมาย และเพศหญิงเป็นเพศที่มีความเสี่ยงต่อเรื่องเพศด้านไม่ดี เช่น การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การถูกข่มขืน และความไม่เสมอภาคทางสังคม เป็นต้น จึงทำให้เพศหญิงต้องใฝ่หาความรู้เพิ่มขึ้นและความรู้ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญต่อพฤติกรรมทางเพศ ซึ่งความรู้กับเรื่องเพศในปัจจุบัน ได้มีการบรรจุหัวข้อในวิชาสุขศึกษาเกี่ยวกับ เพศศึกษา (กรมวิชาการ. 2542 : 10-12) ทำให้พบว่า นักเรียนมีความรู้ดีเกี่ยวกับเรื่องเพศ การวางตัวต่อเพศ ซึ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศได้จากสื่อต่างๆ และการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพสที่ไม่เหมาะสมจากสื่อต่างๆ ที่ทำให้เด็กผู้หญิง ทั้งหลายเสี่ยงต่อการลานลาม และมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งความรู้ที่ได้เหล่านี้ อาจมีผลไปทำให้ นักเรียนเกิดความกลัวที่ตนเองอาจถูกโดนกระทำได้ ถ้าตนเองทำตัวไม่ดีด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้เพศหญิงมีความรู้เฉลี่ยสูงกว่าเพศชาย การศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับการศึกษาของ สันทัด เสริมศรีและสืบพงษ์ ไชยพรรค (2530 : 301 – 313) ศึกษาความสัมพันธ์ทางเพศของวัยรุ่นในเขตเมือง ส่วนภูมิภาคที่กำลังศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาในระดับประกาศยนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) เฉพาะที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่า ความรู้เรื่องเพศศึกษามีความสัมพันธ์และจะมีความรู้ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกับกลุ่มที่ไม่มีเพศสัมพันธ์

ด้านความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องเพศ เล่าเรื่องเสียว

จากผลการวิจัยพบว่าทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีความคิดเห็นเฉลี่ยเกี่ยวกับเรื่องเพศ

ระดับปานกลาง โดยที่นักเรียนหญิงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนชาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเพราะส่วนใหญ่ฐานะของผู้ปกครองของนักเรียนมีฐานะจึงสามารถหาความรู้ได้ดีและบริบทของโรงเรียนที่อยู่นอกสถานศึกษาจะมีสิ่งยั่วยุ แรงจูงใจต่างๆ และมีสถานบันเทิงอยู่จำนวนมาก ประกอบกับนักเรียนอยากมีความรู้อยากเห็น อยากทดลองและตื่นเต้นกับสถานศึกษา การเปลี่ยนกลุ่มเพื่อน จึงทำให้สนใจเรื่องหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศสอดคล้องกับการศึกษาของ ชุลีพร ศรศรี. (2541 : 93) ได้ทำวิจัยเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้ทำการวิจัยเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่า วัยรุ่นน่าจะได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องเพศศึกษาจากสื่อมวลชนต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น ช่วยให้วัยรุ่นเข้าใจถึงอันตราย และรับรู้ถาวะเสี่ยงทางเพศ อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการมีเพศสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 16-18 ปี เมื่อเทียบระดับชั้นการศึกษาจะอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ด้านทักษะการปฏิบัติที่มีต่อเรื่องเพศ เล่าเรื่องเสียว

จากผลการวิจัยพบว่าทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีทักษะปฏิบัติในเรื่องเพศเฉลี่ย

เกี่ยวกับเรื่องเพศระดับปานกลาง โดยที่นักเรียนหญิงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนชาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะ

นักเรียนหญิงเป็นเพศที่ผู้ปกครองต้องดูแลเป็นอย่างดี และเป็นเพศที่ละเอียดอ่อนและมีความใส่ในในทุกเรื่อง ประกอบกับสถานที่เรียนเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและอาจารย์มีความเอาใจใส่นักเรียนเกี่ยวกับเรื่องเพศดี จึงอาจทำให้นักเรียนมีความรู้สึกที่จะปฏิบัติตนให้ถูกต้องอยู่ในระเบียบวินัย เพื่อเป็นที่รักของครู อาจารย์และผู้ปกครอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้นักเรียนทักษะการปฏิบัติในเรื่องเพศอยู่ในระดับปานกลางไม่มากหรือน้อยจนเกินไปเพราะ ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันเป็นภาวะเศรษฐกิจที่ผู้ปกครองต้องหาเงินไว้เลี้ยงครอบครัว จึงอาจไม่มีเวลามาดูแลเด็กในเรื่องพฤติกรรมทางเพศ ประกอบกับโรงเรียนสตรีวิทยา ๒เป็นโรงเรียนที่ดูแลนักเรียนในเรื่องพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆได้ดี สั่งสอนให้เด็กทำตัวอยู่ในกรอบของโรงเรียนและพยายามเรียนเพื่อให้ได้ผลการที่ดี เพื่ออนาคตของนักเรียน จึงอาจทำให้นักเรียนไม่สนใจกับการกระทำเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเพศ ซึ่งเป็นอันตราย และสามารถทำให้อนาคตในการเรียนตกต่ำได้การศึกษาครั้งสอดคล้องกับการศึกษาของ อรอุษา จันทรวิรุจ (2544 : 119) ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า นักเรียนที่มีบิดาอาชีพรับราชการ/ รัฐวิสาหกิจ มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ร้อยละ 72.4 ส่วนนักเรียนที่มีมารดามีอาชีพส่วนตัว/ รับจ้าง/ ค้าขาย มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ร้อยละ 69.6 ซึ่งจะพบว่า อาชีพบิดา อาชีพมารดา มีอาชีพต่างกัน แต่พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ และไม่สามารถทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการได้

เล่าเรื่องเสียว ข้อเสนอแนะ

1.วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความแตกต่างกันหลายๆ ด้าน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาบันแรกคือครอบครัว ดังนั้นบิดามารดาและผู้ปกครองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสานสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น ปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้ตั้งแต่ยังเด็ก ตลอดจนสอดส่องพฤติกรรมของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด

2. สถาบันการศึกษาเป็นสถาบันที่มีความสำคัญ บุคคลลากรทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันให้ความรู้เรื่องเพศที่ถูกต้องและติดตามพฤติกรรมของเด็กตลอดจนประสานกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แนวทางที่ถูกต้องแก่เยาวชน

เพศเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันอย่างเอะอะอึงคะนึงที่สุดเรื่องหนึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ แต่การพูดถึงเรื่องเพศนั้น กลับเป็นการสื่อสารภายใต้มิติของความรู้ความเข้าใจที่จำกัดอย่างยิ่ง เรื่องเพศในสังคมไทยจึงดูเหมือนจะวิ่งกลับไปกลับมาระหว่างเพศที่พูดจากวาทกรรมทางการแพทย์ ซึ่งได้รับความชอบธรรมให้เป็นผู้สื่อสาร กับเพศที่พูดจากวาทกรรมของเสรีภาพและศิลปะ ซึ่งมักจะเป็นการพูดผ่านรูปแบบที่เรื่องเพศได้ถูกทำให้กลายเป็นสินค้าไปแล้ว

การศึกษาการสื่อสารเรื่องเพศในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์และสภาพการสื่อสารเรื่องเพศในสังคมไทย การทบทวนแนวคิดทฤษฎีและองค์ความรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การนำเสนอแนวนโยบายการสื่อสารเรื่องเพศในอนาคต

การวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์ 3 ส่วนหลัก คือ การทบทวนและเรียบเรียงแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ การทบทวนการวิจัยเรื่องเพศในช่วงปี พ.. 2540 – 2545 และการวิเคราะห์ปรากฏการณ์การสื่อสารเรื่องเพศในสื่อหนังสือพิมพ์ด้วยวิธีวิเคราะห์วาทกรรม

จากการรวบรวมแนวคิดทฤษฎีพบว่า เรื่องเพศประกอบด้วยความรู้ 3 ส่วนหลัก คือ เพศสรีระ (sex) เพศสภาพ (gender) และเพศวิถี (sexuality) และเรื่องเพศเป็นการประกอบสร้างความหมายผ่านรูปแบบปฏิบัติการวาทกรรม แนวทางการศึกษาเรื่องเพศมีประวัติศาสตร์เริ่มจากการศึกษาเพศแนวสารัตถะที่เน้นการศึกษาเพศในระบบชีววิทยา หลังจากนั้นการศึกษาแนวจิตวิทยา แนวปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ แนววัฒนธรรมศึกษา และสตรีนิยมจึงเกิดขึ้นตามมา อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาเรื่องเพศมีพัฒนาการทางแนวคิดและทฤษฎีที่หลากลายเรื่องหนึ่ง

ในการนำเสนองานวิจัยสำหรับการสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ จะเน้นที่การวิเคราะห์ วาทกรรมทางเพศในสื่อหนังสือพิมพ์ ซึ่งพบว่าเรื่องเพศในสื่อได้ถูกนำเสนอผ่านวาทกรรมกลุ่ม ต่าง ๆ ได้แก่ วาทกรรมความรุนแรงทางเพศ วาทกรรมเพศสรีระและความงาม และวาทกรรมเพศดั้งเดิม เช่น ตอกย้ำว่าเพศเป็นเรื่องต้องห้าม เพศที่สามเป็นเรื่องผิดปกติและสมควรถูกลงโทษ เป็นต้น การผลิตซ้ำวาทกรรมเหล่านี้ทำให้ความหมายทางเพศลดรูปเหลือเพียงเสี้ยวและก่อให้เกิดภาพเหมารวมต่อกลุ่มต่าง ๆ ทำให้ความเข้าใจเรื่องเพศมีความคับแคบและบิดเบือน สะท้อนให้เห็นสภาพปัญหาของการสื่อสารเรื่องเพศในสังคมไทยอย่างชัดเจน

คำนิยามเรื่องเพศ

ในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ของการสื่อสารเรื่องเพศในสังคมไทยนั้น ได้กำหนดคำหลักทางวิชาการ (terminology) ที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างการวิเคราะห์ไว้ 6 คำหลักด้วยกัน ทั้ง 6 คำหลักนี้ จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาในลักษณะของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ที่มีความ เกี่ยวข้องและซ้อนทับกัน ในลักษณะที่การจับคู่ความสัมพันธ์ของคำหลักแต่ละคู่นั้น ได้ก่อให้เกิดมุมมองต่อการพิจารณาปรากฏการณ์ของการสื่อสารเรื่องเพศที่หลากหลายกันออกไป และเมื่อนำคำหลักทั้งหมดมาบูรณาการกันเพื่อพิจารณาในลักษณะองค์รวมนั้น จะทำให้ได้ภาพของการอธิบายที่เชื่อมต่อกัน เห็นวัฏจักรของความสัมพันธ์ และในขณะเดียวกันจะสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ทางโครงสร้างแบบเชิงซ้อนที่มีส่วนกำหนดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้

SEX งานวิจัยนี้ใช้ว่า เพศสรีระ เพื่อแยกความแตกต่างของคำนี้ออกจากความหมายด้านสถานภาพและบทบาทของผู้หญิงผู้ชาย เพศสรีระจึงมีความหมายเฉพาะเพศที่จำแนกตามสรีระหรือระบบชีววิทยา (biological sex) คือเพศหญิงเพศชาย และรวมไปถึงเพศที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบเพศตามชีววิทยาแต่กำเนิดด้วย เช่น พวกที่มีการแปลงเพศ (transgender)

GENDER ในงานวิจัยนี้ ใช้คำแปลว่า เพศสภาพ ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึง เรื่องของความเป็นผู้หญิงและผู้ชายที่ไม่ได้ถูกกำหนดโดยระบบทางสรีระหรือชีววิทยา แต่ถูกกำหนดโดยปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคม และอื่น ๆ ทำให้สังคมเกิดความคาดหวังต่อความเป็นหญิงและชายในแง่มุมเฉพาะต่าง ๆ และมีส่วนกำหนดความเชื่อ (belief) ทัศนคติ (attitude) มายาคติ (myth) รวมทั้งประเพณีปฏิบัติต่าง ๆ ที่ถูกทำให้กลายเป็นบรรทัดฐานของสังคม (social norms) ในเรื่องของความเป็นหญิงและชาย

SEXUALITY ในงานวิจัยนี้ ใช้คำแปลว่า เพศวิถี ซึ่งหมายถึง ระบบความคิดความเชื่อเรื่องเพศ เป็นกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรมที่กำหนด จัดการ กำกับควบคุม รวมทั้งการแสดงออกเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ ความปรารถนา ความพึงพอใจในเรื่องเพศ การแสดงท่าทีที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ การแต่งกาย เป้าหมายในความสนใจทางเพศ และการสร้างจินตนาการที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ ไปจนถึงการออกกฎเกณฑ์ ระเบียบกฎหมายต่าง ๆ ที่มาควบคุมหรือกำกับดูแลเรื่องเพศของคนในสังคม ถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง เพศวิถี หรือ SEXUALITY ก็คือ วิถีทางเพศของคนทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและในระดับสังคม ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สังคมจะมีการสร้างบรรทัดฐานชุดหนึ่งที่ยอมรับหรือให้ความชอบธรรมกับเพศวิถีที่กำหนดขึ้นเท่านั้น

DISCOURSE ในงานวิจัยนี้ใช้คำแปลว่า วาทกรรม หมายถึง ชุดของความหมายที่เป็นระบบ ซึ่งปรากฏทั้งในรูปของข้อความ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผนปฏิบัติ รวมไปถึงความเชื่อ ค่านิยม อัตลักษณ์ที่มีการสื่อสารเพื่อให้เกิดความหมาย คุณค่า กฎเกณฑ์ เงื่อนไข ซึ่งมีผลต่อการควบคุมสังคม สถาบัน และปัจเจกบุคคลว่า อะไรควรนำเสนอ/ สื่อความ อะไรควรเชื่อและปฏิบัติตาม รวมทั้ง ไปมีผลต่อการสร้างชุดของความจริงขึ้นในสังคมในช่วงเวลาเฉพาะด้วย

POWER ในงานวิจัยนี้ ใช้คำว่า อำนาจ ซึ่งเป็นความหมายเชิงนามธรรมที่หมายถึงความสามารถหรือปฏิบัติการทางสังคมในการควบคุม หรืออยู่เหนือกว่าคนอื่นหรือสถาบันอื่นในสังคม ตามนัยนี้ อำนาจจึงเป็นเสมือนองค์ประกอบที่กำหนดสถานภาพให้แก่ปัจเจกบุคคล รวมทั้งสถาบันต่าง ๆ

IDENTITY ในงานวิจัยชิ้นนี้นิยามว่า อัตลักษณ์ หมายถึงลักษณะเฉพาะชุดหนึ่งของบุคคลซึ่งแสดงออกต่อผู้อื่น เพื่อบ่งชี้ว่า “ฉันคือใคร” “ฉันแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร” และ “ฉันคือใครในสายตาคนอื่น” อัตลักษณ์จึงเป็นกลไกที่กำหนดความเป็น “เรา” และ “เขา” ซึ่งแบ่งแยกโดยอาศัยเรื่องของความแตกต่าง

แนวคิดทฤษฎีสื่อสารมวลชนกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

การศึกษาด้านสื่อสารมวลชนจึงเป็นการศึกษาเพื่อมุ่งตอบคำถามเรื่องปฏิสัมพันธ์ของสื่อมวลชนที่มีต่อสังคม โดยที่ส่วนใหญ่เน้นวิเคราะห์บทบาท (role) ผลกระทบ (impact) และการแสดงออก (performance) ของสื่อมวลชนต่อประโยชน์สาธารณะ (public interest) ซึ่งได้แก่ สิ่งที่สังคมส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นประโยชน์ มีคุณค่า และอยู่บนฐานของเจตนารมณ์ร่วมของสังคม ในที่นี้ การสร้างความหมายในเรื่องเพศของสังคมจึงเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่สะท้อนท่าทีของสื่อมวลชนและผลกระทบของสื่อที่มีต่อสังคมทั้งในระดับของปัจเจกบุคคล ระดับกลุ่ม และสังคม

แนวทางการศึกษาสื่อมวลชนกับสังคมได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่อยมาตามพื้นฐานปรัชญาของสำนักทฤษฎีทั้งหลาย และตามกระแสความเคลื่อนไหวของวิชาการและการปฏิบัติ รายงานวิจัยนี้ได้สรุปแนวทางการศึกษาผลกระทบและการแสดงออกของสื่อมวลชนเฉพาะที่สามารถเชื่อมโยงกับการสื่อสารเรื่องเพศได้ เพื่อให้เห็นความเป็นมาและแนวโน้มของวิชาการด้านนี้ ดังนี้

แนวทางที่เน้น ‘พลัง’ และ ‘อิทธิพล’ ของสื่อ: แนวคิดนี้มองว่า ประชาชนผู้รับสารมีลักษณะตั้งรับ (passive) จึงสามารถถูกชักชวนหรือโน้มน้าวใจจากสื่อมวลชนได้ง่าย เป็นการมองว่าสื่อทำอะไรกับผู้รับสาร (what media do to the people) ผู้รับสารถูกมองในฐานะของมวลชน (mass) หรือ ผู้บริโภคสื่อ (media consumer) มากกว่าจะมองเป็นชุมชนผู้รับสาร (audience community) จึงอยู่ในฐานะที่ไร้อำนาจต่อรอง และมักถูกมองว่าเป็น ‘cultural dupe’ คือถูกชักจูงได้ง่าย และไม่แยกแยะระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกแห่งความหมายที่สื่อประกอบสร้างขึ้น แนวทางนี้ ได้ถูกโจมตีจากนักวิชาการสื่อสารมวลชนในยุคหลัง 1970s ซึ่งไม่เชื่อเรื่องอิทธิพลแบบทิศทางเดียวของสื่อ แต่เชื่อในเรื่องของการครอบงำทางอุดมการณ์สื่อที่มีลักษณะซับซ้อนกว่า

แนวทางที่เน้น ‘พลัง’ และบทบาทของสังคม/ ประชาชน: แนวคิดนี้เชื่อในพลังของประชาชนหรือผู้รับสาร (active audience) ว่าสามารถเลือกสรร รับ หรือปฏิเสธ สิ่งที่สื่อนำเสนอได้ตามแต่บริบทของปัจเจกบุคคล แนวคิดนี้จึงเน้นศึกษาผู้รับสารในลักษณะของปัจเจกบุคคล (individual) มากกว่าเป็นเพียงแค่มวลชนที่ไม่ปรากฏตัวตนเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ได้ถูกวิจารณ์ว่า เน้นศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาซึ่งเป็นเรื่องภายในของปัจเจกบุคคลมากเกินไป จนไม่สนใจปัจจัยเชิงสังคม วัฒนธรรมและบริบทแวดล้อมอื่น ๆ ที่มีส่วนต่อการตัดสินใจเลือกรับสื่อของปัจเจกด้วย

แนวทางที่เน้นความสัมพันธ์ของการเข้ารหัสถอดรหัส: แนวคิดนี้เชื่อว่าการสื่อสารจะมีประสิทธิภาพหรือก่อให้เกิดผลกระทบ จะต้องมีการผสมผสานกันระหว่างความสามารถที่จะสื่อสารความหมายได้อย่างมีพลังและความสามารถที่จะได้รับการตีความหรือถอดรหัสได้อย่างมีความหมายด้วยเช่นกัน หลักการสำคัญของแบบจำลองการเข้ารหัสและถอดรหัสนี้ก็คือ การวางตำแหน่งของผู้ผลิตสาร (ผู้เข้ารหัส) ตัวสาร และผู้รับสาร (ผู้ถอดรหัส) ไว้ในระนาบเดียวกัน โดยที่ทั้งสามองค์ประกอบนี้ต่างมีความสัมพันธ์ต่อกัน

แนวทางวิพากษ์วัฒนธรรมอุตสาหกรรม: ตามแนวคิดนี้ สื่อมวลชนถูกนิยามว่ามีธรรมชาติของ “วัฒนธรรมอุตสาหกรรม (the culture industry)” ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่สร้างขึ้นมาภายใต้มายาภาพอันหลอกลวงว่ามุ่งประโยชน์ต่อสังคม แต่อันที่จริงแล้วเป็นไปเพื่อผลทางธุรกิจและการแสวงหากำไรสูงสุดเท่านั้น ทำให้ศิลปะลดทอนลงมาเป็นงานพาณิชย์ศิลป์ ทำให้วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้า (commodification) และทำให้คุณภาพของสินค้าและวัฒนธรรมมีมาตรฐานเดียวกันหมด (standardisation)

แนวทางวิเคราะห์สื่อในวัฒนธรรมยุคหลังสมัยใหม่: แนวคิดของทฤษฎีหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) มีหลักอยู่ที่การปฏิเสธความเป็นสากล (universal) ความเหนือกว่าของอภิมหาปรัชญา (grand narrative) และวิธีคิดแบบเป็นเส้นตรงตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่เชื่อในเรื่องของระบบคิดแบบแยกย่อย ความไร้ระเบียบของทฤษฎีเชิงสังคม รวมทั้งให้ความสนใจกับเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและมิติทางศาสนาและจิตวิญญาณซึ่งได้ถูกละเลยไปในยุคแห่งความรู้แจ้ง (Enlightenment) การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับสังคมตามแนวคิดของทฤษฎีหลังสมัยใหม่ จึงเป็นการใช้มุมมองที่สนใจที่รูปแบบและวิธีการของการแสดงออก (form & performance) มากกว่าบทบาทหรือปรัชญาของสื่อนั้น ๆ

เมื่อเพศถูกพูดถึงในหนังสือพิมพ์

จากการวิเคราะห์รวบรวมปรากฏการณ์เรื่องเพศที่ถูกสื่อมวลชนพูดถึงตั้งแต่ปี พ.. 2540 – 2545 พบว่า ปรากฏการณ์ที่ถูกสื่อมวลชนนำเสนอมากที่สุด คือ ประเด็นความรุนแรงทางเพศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความรุนแรงทางร่างกาย เช่น การข่มขืน การทำร้างร่างกายอันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ส่วนตัว รองลงมาคือ การล่วงละเมิดและการคุกคามทางเพศ การที่ประเด็นเรื่องความรุนแรงทางเพศได้รับการนำเสนอมากที่สุดนี้ สะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์เรื่องเพศของสังคมไทย ที่มีส่วนสัมพันธ์กับเรื่องของความรุนแรง อันแสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจ การครอบงำ และความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ นอกจากนี้ปรากฏการณ์ของความรุนแรงทางเพศในครอบครัวและชีวิตคู่ ที่ปรากฏอย่างชัดเจนและรุนแรงขึ้นเป็นลำดับนั้น ยังแสดงให้เห็นถึงค่านิยมทางเพศสภาพของสังคมไทยที่มองว่า การสมรสคือการยินยอมมอบอำนาจและชีวิตให้แก่ฝ่ายที่เหนือกว่าในระบบความสัมพันธ์นั้นและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในชีวิตคู่เป็นเรื่องส่วนตัวของคนสองคนเท่านั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ จะได้ชี้ให้เห็นชัดยิ่งขึ้นในการวิเคราะห์เชิงวาทกรรม

ปรากฏการณ์เรื่องเพศที่สื่อมวลชนพูดถึงในอันดับต่อๆ มานั้น ได้แก่เรื่องของเพศสรีระ การประกวดความงาม และการเสริมความงามของเพศสรีระ รวมทั้งการเสริมประสิทธิภาพทางเพศ อันสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของสังคมไทยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของเพศสรีระสูงสุด โดยยังเชื่อมโยงเรื่องของเพศสรีระเข้ากับความพึงพอใจทางเพศด้วย ทำให้การสร้างความหมายเรื่องของเพศสรีระเป็นการเน้นย้ำที่สรีระบางส่วนซึ่งเชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับความเพลิดเพลินใจทางเพศและกามารมณ์ เรื่องของเพศสรีระจึงถูกทำให้กลายเป็นกลไกของกิจกรรมทางเพศค่อนข้างมาก

นอกจากนี้ ยังมีปรากฏการณ์ของความสัมพันธ์ ความรักของผู้มีชื่อเสียง ที่นำไปสู่ความสนใจของสาธารณะ ซึ่งสื่อมวลชนมักสร้างปรากฏการณ์นี้ในทำนองของความพยายามปกปิดความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมทางเพศของดารา ทำให้เรื่องเพศกลายเป็นประเด็นที่คนอยากรู้อยากเห็น อยากให้สื่อมวลชนช่วย ‘เปิดโปง’ ปรากฏการณ์ที่สื่อมวลชนนำเสนอต่อมา คือ เรื่องของการค้าประเวณี และการซื้อบริการทางเพศเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งเป็นการนำเสนอที่ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหา ชะตาชีวิตของผู้หญิงที่ถูกบังคับล่อลวง แต่ไม่ได้เน้นย้ำถึงปมเหตุของปัญหาทั้งหมด ว่าทำไมจึงต้องมีการซื้อขายประเวณีในสังคมไทย

ปรากฏการณ์ในเรื่องเพศที่ได้รับการประกอบสร้างจนเป็นประเด็นสาธารณะอีกประเด็นหนึ่งของสื่อมวลชน คือ ปัญหาเพศในวัยรุ่น ซึ่งถูกนำเสนอในลักษณะที่ชี้ให้เห็นถึงความผิดปกติ และความเสื่อมทางพฤติกรรมและศีลธรรมของวัยรุ่น โดยที่ไม่ค่อยมีสื่อมวลชนใดวิเคราะห์ให้เห็นถึงความซับซ้อนของปัญหานี้ได้ชัดเจนนัก และทำให้การนำเสนอปรากฏการณ์นี้มักนำไปสู่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ และทำให้วัยรุ่นถูกผลักไสออกจากความยอมรับของสังคมมากขึ้น ไม่ผิดกับการผลักสิ่งที่เห็นว่าเป็นปัญหาออกไปไกลตัว วัยรุ่นจึงเป็นกลุ่มที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ห่างไกลจากสังคมออกไปมากขึ้นทุกที ประเด็นที่สืบเนื่องจากปัญหาวัยรุ่น คือปรากฏการณ์เรื่องสื่อลามก โดยเฉพาะสื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่สังคมตื่นตัวและเชื่อว่า สื่อลามกเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาเรื่องเพศในวัยรุ่น รวมทั้งปัญหาความรุนแรงทางเพศ

เนื้อหาประกอบ  เว็บโป๊ เรื่องเสียว เล่าเรื่อง เสียว

  • ข่าวที่น่าสนใจ
  • ข่าวที่เกี่ยวข้อง