เมืองเชียงคาน มีที่มาจากคำสองคำ คือ คำว่า เชียง ซึ่งตามธรรมเนียมราชประเพณีไทยล้านนา ล้านช้าง มักจะใช้คำนำหน้าเมืองว่า เชียง ส่วนคำว่า คาน เป็นชื่อของผู้สร้างเมือง”เชียงคาน คือ ขุนคาน กษัตริย์แห่งเมืองเชียงทอง พระราชโอรสของ ขุนเคา ซึ่งเป็นเชื้อสาย ขุนลอ ในพงศาวชา กล่าวว่าเป็น ปฐมกษัตริย์ลาวประมาณ พุทธศักราช ๑๒๔๐ หรือ พุทธศตวรรษที่ ๑๓ ที่ตั้งของ เชียงคาน ปัจจุบันเชียงคานมีอายุมากกว่าร้อยปีแล้วแถมมีบ้านไม้เก่าๆ วิวสวยๆตามริมฝั่งโขง เงียบสงบ บรรยากาศดี แล้วก็ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากมาย
อ่านรีวิว สถานที่ท่องเที่ยว เชียงคาน
นายอ่วม อาจทอง กล่าวว่า ประวัติเชียงคาน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเลย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เคยเป็นราชธานีหรือเมืองหลวงของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือราชอาณาจักรลาวมาก่อน เมืองเชียงคานเก่า หรือเมืองสานะคาม ชนะสงคราม ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ทางยุทธศาสตร์สมัยราชอาณาจักรล้านช้าง ถูกก่อสร้างโดย ขุนคาม โอรสของขุนคัวแห่งอาณาจักรล้านช้าง เมื่อประมาณปีพ.ศ. 1400 ต่อมาประมาณปีพ.ศ. 2250 ทางเวียงจันทร์ได้ตั้งเมืองเชียงคานเดิม ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นเมืองหน้าด่าน พ.ศ. 2320 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทร์ ตีเวียงจันทร์ได้จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรี แล้วได้รวมอาณาจักรล้านช้างเข้าด้วยกันและให้เป็นประเทศราชของไทย แล้วได้กวาดต้อนผู้คนมาอยู่เมืองปากเหืองมากขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เมืองปากเหืองขึ้นกับเมืองพิชัย ต่อมมาสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทยยกทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ที่นครราชสีมา เนื่องจากเจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทร์คิดกอบกู้เอกราชเพื่อแยกเป็นอิสระจากไทย หลังจากปราบได้สำเร็จแล้ว ก็ไปกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาอยู่เมืองปากน้ำเหืองมากขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ไปขึ้นกับเมืองพิชัย ครั้นถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางและได้เข้าปล้นสดมภ์เมืองเชียงคานเดิมที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมืองเชียงคานใหม่ เมืองปากเหือง เป็นจำนวนมาก ครั้นต่อมา เห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ เมืองปากเหือง ไม่เหมาะสม ผู้คนส่วนใหญ่จึงอพยพไปอยู่ที่บ้านท่านาจันทร์ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน ต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่เมืองใหม่เชียงคาน หรืออำเภอเชียงคานปัจจุบันโดยสิ้นเชิง “แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงคานใหม่” ได้ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณวัดธาตุ เรียกว่าศาลาเมืองเชียงคาน ต่อมาได้ย้ายที่อยู่บริเวณวัดโพนชัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452 เมืองเชียงคานซึ่งมีพระยาศรีอรรคฮาด ทองดี ศรีประเสริฐ
ได้รับตำแหน่งนายอำเภอเชียงคานคนแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2484 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคานมาอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้ สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองเชียงคาน นายกมล คงปิ่น กล่าวว่า ถนนคนเดิน ถนน คนเดิน อ.เชียงคานเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบเดินช้อปปิ้งหรือถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก นอกจากนี้ยังมีมุมกาแฟเล็ก ๆ ให้ได้นั่งพักผ่อน พร้อมกับชื่นชมรอยยิ้มของผู้คนริมฝั่งโขงแห่งนี้ด้วย ถนนคนเดิน เชียงคาน ถนนช้อปปิ้งสุดคลาสิคริมฝั่งโขง เชียงคาน ที่ที่หลายๆ คนไปเที่ยวตามกระแส หรือตามคำบอกเล่าต่อๆ กันมาและอีกหลายๆ คนอาจไปเพียงเพราะจะได้ถ่ายรูปกลับมาอวดคนอื่นว่าไปมาแล้วแต่ก็มีบางคนที่ไปแล้วตกหลุมรักเชียงคาน แต่ไม่ว่าใครต่อใครจะมาเยือนเชียงคาน ด้วยจุดประสงค์ใดก็ตามดินแดนเล็กๆ แห่งนี้ ก็ยังมีธรรมชาติวัฒนธรรมและรอยยิ้มของผู้คนให้ได้พบเห็นกันเสมอ และนอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว เชียงคานยังได้ชื่อว่ามีถนนคนเดินสายคลาสิค ที่ห้อมล้อมทั้งสองฝากฝั่งด้วยบ้านไม้เก่า อันเป็นเอกลักษณ์ที่หาไม่ได้จากถนนคนเดินที่อื่นอีกด้วย ถนนชายโขง เป็นชื่อของถนนสายสั้นๆ ริมแม่น้ำโขงที่มีความยาวไม่ถึง 3กิโลเมตร ปกติในวันธรรมดา บรรยากาศที่นี่ก็จะเงียบสงบ เรียบง่ายไม่ต่างจากวิถีชีวิตชนบทในจังหวัดอื่นๆ ที่ชาวบ้านจะตื่นกันแต่เช้า เพื่อมาทำบุญตักบาตรก่อนจะแยกย้ายไปทำงานตามภาระหน้าที่ของใครของมัน แต่พอถึงช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันหยุดสุดสัปดาห์ ถนนสายนี้ก็จะคราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวมากมายที่แห่แหนกันมาใช้เวลาในวัน หยุดพักผ่อน ทำให้ถนนสายนี้คึกคัก มีชีวิตชีวาขึ้นมาทันตา ดังนั้นพอแดดร่มลมตกซักหน่อย ก็ถึงเวลาออกมาเดินเล่นที่ถนนคนเดินกันแล้ว นาย ผดุง น้อยจันทร์ กล่าวว่า ภูทอกทะเลหมอก ภูทอก เป็นภูเขาที่สูงไม่มาก มีถนน ถึง และเป็นภูเขาที่อยู่ห่างจากเมืองประมาณ 7-8 กิโลเมตรจากเมืองก็มองเห็น ยอดภูทีโอที ใช้เป็นสถานีทวนสัญญาน แต่ก็มีพื้นที่หรือ เนินเล็กๆ ที่ลดลั่น จากยอดลงมาเล็กน้อย เป็นเนินดูทะเลหมอกที่สวย ในตอนเช้าหน้าหนาว ดูวิวเมืองตอนสายๆ เที่ยงๆ ได้ทุกหน้ามองเห็นแก่งคุดคู้ ภูหมอน ผาแบ่น สายน้ำโขงที่ไหนแนบเชียงคาน หรือกั้นระหว่าง ไทย ลาว และยังมองเห็นประเทศลาวได้ ชัดเจน บรรยกาศ ดีตอนเช้า สวยงาม ข้อระวัง ถนนขึ้นอาจเล็ก ระวังเรื่อง อุบัติเหตุที่ถ่ายภาพที่สวยที่หนึ่ง ไปประมาณ 6-9 โมง ของหน้าหนาวหรือวันไหนที่มีอากาศเย็นๆ จะเห็นหมอกที่สวยงาม นายสมัคร ยายืน กล่าวว่า แก่งคุดคู้เป็น แก่งหินใหญ่ขวางอยู่กลางลำน้ำโขง ช่วงโค้งของลำน้ำโขงพอดี ทำให้เกิดกระแสน้ำเชี่ยวไหลผ่านแก่ง ในหน้าน้ำ น้ำจะท่วมจนมองไม่เห็นแก่ง เวลาที่เหมาะจะชมแก่งคุดคู้คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นเวลาที่น้ำแห้งมองเห็นเกาะแก่งชัดเจนมีโค้งสันทรายริมแม่น้ำสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสสายน้ำโขงและธรรมชาติสองฝั่งอย่างใกล้ชิดที่บริเวณแก่งคุดคู้มีบริการเช่าเรือยนต์ล่องแม่น้ำโขงใช้เวลาไป-กลับประมาณ 1 ชั่วโมง ราคาแล้วแต่จะตกลงนอกจากนี้ยังมีร้านขายอาหาร เช่น ไก่ย่าง ส้มตำ ลาบ โดยเฉพาะพล่ากุ้งเต้น ต้มยำปลาจากลำน้ำโขงเป็นอาหารแนะนำในราคาไม่แพง การเดินทางจากตัวอำเภอเชียงคานนักท่องเที่ยว สามารถนั่งรถสายรอบเมืองไปแก่งคุดคู้ได้ซึ่งห่างจากตัวอำเภอเชียงคานไปประมาณ 5กิโลเมตร นั่งเรือ ชมวิว จากแก่งคุดคู้ กลับในเมืองเชียงคาน ได้ ราคาคนละ 50 บาท จำนวน 10คน และเล่นน้ำโขงที่หาดหินแก่งคุดคู้ นายประสิทธิ์ เหมือนสนิท กล่าวว่า วัดศรีคุณเมือง อยู่ ที่ถนนชายโขง ซอย 7
ทางด้านเหนือของตลาดเชียงคาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 มีกำแพงแก้วล้อมรอบตัวพระอุโบสถวัดนี้เป็นแหล่งรวมงานศิลปะทั้งแบบล้านนาและล้านช้างดังจะเห็นได้จากโบสถ์ซึ่งหลังคาลดหลั่นอย่างศิลปะล้านนา ศิลปวัตถุที่สำคัญมีหลายชิ้นเช่นพระพุทธรูปไม้จำหลัก ลงรักปิดทองปางประทานอภัยแบบล้านช้างพระพุทธรูปดังกล่าวมีพระเกศาเป็นปุ่มแหลมเล็กพระกรรณค่อนข้างแหลมและยาว สันนิษฐานว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่24-25นอกจากนี้ในวัดยังมีธรรมาสน์แกะสลักไม้ลงรักปิดทองทุกด้านที่พนักหลังมียอดคล้ายปราสาท ด้านหน้าโบสถ์ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่เต็มหน้าบัน ภาพทั้งหมดเป็นภาพ นิทานชาดกชุดพระเจ้าสิบชาติซึ่งวาดขึ้นใหม่แทนของเดิม นางนงลักษณ์ เครือทองศรี กล่าวว่า พระพุทธบาทภูควายเงิน จุดเด่นรอยของพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนหินลับพร้า หินลับมีด ที่มีรูปลักษณะเหมือนรอยพระพุทธบาทจริงนอกจากนี้ด้วยความที่วัดอยู่บนภูเขาสูงจึงทำให้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ด้านล่างบริเวณวัดพระพุทธบาทภูควายเงินได้รอบทิศ จุดด้อย ถนนทางขึ้นวัดถึงแม้จะเป็นทางลาดยางแต่หนทาง ก็ยังมีความลาดชันและคดเคี้ยวอยู่มาก ทำให้ผู้ที่ขับรถขึ้นไปต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควร นอกจากนี้ด้วยความที่อยู่บนภูเขาสูงและไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่จึงอาจทำให้อากาศ ร้อนอยู่บ้างหากไปในช่วงกลางวัน บทสรุป วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจของจังหวัดเลย เพราะด้วยสถานที่ตั้งซึ่งอยู่บนภูเขาสูง พระพุทธบาทภูควายเงินสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านเมืองเลย“พระพุทธบาทภูควายเงิน”โบราณสถานเก่าแก่ทางพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่ง ในอำเภอเชียงคานจังหวัดเลยถือเป็น ศาสนสถาน ศักดิ์สิทธิ์ สำคัญที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองเชียงคานมานาน แต่อดีตซึ่งในครั้งเก่าก่อนเชื่อกันว่าใครก็ตามที่จะมาถึงวัดพระพุทธบาทภูควายเงินได้ ต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนาจริงๆ เท่านั้นส่วนคนที่มีบุญหรือมีวาสนาไม่ถึงก็จะมีเหตุและอุปสรรค์ต่างๆทำให้มาไม่ได้ทั้งที่ตั้งใจไว้อย่างเต็มที่แล้วก็ตาม พระเจ้าใหญ่พุทธฉัพรรณรังสี ที่ตามพระวรกายประดับไปด้วยกระจกเงาชิ้นเล็กๆเต็มไปหมด รูปปูนปั้นควายเงินบริเวณทางขึ้นวัด วิวทิวทัศน์รอบๆบริเวณวัดพระพุทธบาทภูควายเงิน แต่ในปัจจุบันการเดินทางมาวัดแห่งนี้สามารถทำได้อย่างสะดวกโดยใช้เส้นทางสายเชียงคาน–ปากชมที่มีระยะทางประมาณ 6กิโลเมตรเมื่อถึงหมู่บ้านผาแบ่นแล้วให้ไปตามทางแยกเข้าบ้านอุมุงอีกประมาณ3 กิโลเมตรจะถึงทางขึ้นเขาซึ่งเป็นทางลูกรังประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระ นายประสิทธิ์ เหมือนสนิท กล่าวว่า วัดท่าคก วัดท่าคกเป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองเชียงคานที่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจมากๆ ควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ไว้และยังมีพระประธานที่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของชาวเชียงคานมาช้านาน วัดท่าคกแหล่งรวมศิลปะและวัฒนธรรมหลายชนชาติ จ.เลย วัดท่าคกถือเป็นวัดที่มีความสวยงามและมีความหลากหลายทั้งทางด้านศิลปะและการก่อสร้างอุโบสถเก่าแก่ที่มีความสวยงามและอยู่คู่เมืองเชียงคานมานานร่วม200ปี Previous image Next image อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยอำเภอเล็กๆ ที่มีประวัติเกี่ยวพันกับแถบลุ่มน้ำโขงอีสานตอนบนรวมไปถึงความสัมพันธ์กับเชื้อพระวงศ์ทางฝั่งลาวมาตลอดโดยเฉพาะความสัมพันธ์กับหลวงพระบางซึ่งจะสังเกตได้จากภาษาพูดที่ค่อนข้างเหมือนกันมากนอกจากนี้วัดเก่าแก่ในอำเภอเชียงคานยังมีความเกี่ยวข้องกับเชื้อพระวงศ์ลาวเป็นส่วนใหญ่ที่เห็นได้ชัดก็คือ รูปแบบ
ของพระอุโบสถตามวัดหลายแห่งจะมีศิลปะของลาวเข้ามาผนวกทุกวัดและแต่ละวัดก็มีอายุตั้งแต่ 200ปีขึ้นไปทั้งนั้น วัดท่าคกวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองเชียงคานมานานร่วม 200 ปีแต่เดิมวัดแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำที่มีลักษณะเป็นคุ้งน้ำวนซึ่งชาวเชียงคานเรียกว่า คก นางทองดี อินอ่อน กล่าวว่า นมัสการพระใหญ่ภูคกงิ้วชมวิวแม่น้ำโขง จุดเด่น องค์พระขนาดใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ที่ภูคกงิ้วซึ่งเป็นจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทย และบริเวณนี้ยังเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขงทำให้เห็นเป็นแม่น้ำสองสี จุดด้อย ระหว่างทางไปยังพระใหญ่ภูคกงิ้วถนนไม่ค่อยดีนัก และไม่มีที่จอดรถ ต้องจอดรถบริเวณไหล่ทาง บทสรุปพระใหญ่ภูคกงิ้วตั้งอยู่บนยอดภูคกงิ้ว มีทัศนียภาพที่สวยงามเราสามารถมองเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านริมสองฝั่งโขงจากมุมสูงดูชาวบ้านที่สัญจรไป-มาทางเรือ หรือล่องเรือหาปลาในแม่น้ำนมัสการพระใหญ่ภูคกงิ้ว ชมวิวแม่น้ำโขงพระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “พระใหญ่ภูคกงิ้ว”แห่งวัดปากน้ำเหือง เป็นพระพุทธรูปปางลีลาประทานพร สีเหลืองทองอร่ามหล่อด้วยไฟเบอร์ผสมกับเรซิ่น องค์พระมีความสูง 19 เมตร และมีฐานกว้าง7.2 เมตร จัดสร้างโดยกองทัพภาคที่ 2 และประชาชนถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมพรรษาครบ6รอบ และในมหามงคลแห่งพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ครบ 50 ปีเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ทรงมีแก่พสกนิกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้อัญเชิญปฐวีธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ จากพระธาตุพนมพระธาตุเชิงชุม พระธาตุบังพวน พระธาตุขามแก่น พระธาตุนาคูน
เมืองเชียงคาน ในปัจจุบันเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ในสายตาของนักท่องเที่ยว เป็นชุมชนที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาได้ยาวนานกว่า 100 ปี เมืองเชียงคาน เมืองโบราณ บ้านไม้เก่าๆ ร้านกาแฟ มุมหนังสือเล็กๆ เท่านั้น แต่กลับมีนักท่องเที่ยวที่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหนุ่มสาว เดินเที่ยวกันให้เต็มไปหมด อาจจะด้วยเพราะเมืองเชียงคานนี้เงียบสงบ บรรยากาศดี ด้วยการที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แต่ผสมผสานกับความเป็นสมัยใหม่ที่ไม่มากจนเกินไปได้อย่างลงตัวในแบบฉบับของเชียงคาน ผู้คนที่เชียงคานก็เป็นมิตร อัธยาศัยดี และการไปเที่ยวที่เชียงคานก็ไม่แพงจนเกินกำลัง ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชียงคานแห่งนี้ ก็จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลายๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เชียงคานจะไม่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราทุกคนยังคงช่วยกันรักษาความเป็นเอกลักษณ์ ดำรงวิถีชีวิตในแบบของเชียงคานสืบไป ความเป็นเชียงคานที่คงความเป็นเอกลักษณ์ได้ยาวนานกว่าร้อยปี ก็จะเป็นเช่นเดิมตลอดไป..
แนะนำของ ร้านอาหาร ที่กิน อร่อย
ถนนคนเดินเชียงคานมีสินค้าต่างๆ มากมาย ทั้งงานศิลปะพื้นเมือง ศิลปะร่วมสมัย เสื้อผ้าของที่ระลึก และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ อาหารการกินที่มีให้เลือกมากมาย ทั้งที่เป็นร้านขายอาหารจานหลักเมนูพื้นเมืองและอาหารตามสั่งทั่วไป เช่น ข้าวเปียกเส้น เมี่ยงคำ ผัดไทยกุ้งสด ไข่ปิ้ง โจ๊ก ขนมจีน ยำแหนมคลุก ข้าวจี่ กุ้งทอด กุ้งแม่น้ำเสียบไม้ปิ้ง ไอติมโบราณ ซาลาเปาปุยฝ้าย ข้าวเกรียบว่าว ขนมปังสังขยา ปาท่องโก๋ยัดไส้ ชา กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำขิง นมสด ขนมทองม้วน มะขามกวน และอีกมากมายที่ไม่สามารถเอ่ยมาได้หมด
สถานที่เที่ยว
แก่งคุดคู้
เป็นอีกหนึ่งที่ที่ควรไปเพราะนอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้วยังมีสินค้าที่ระรึกจำหน่ายรวมถึงของฝากด้วย
ภูทอก
ตื่นเช้าๆไปรับออกซิเจน ไปดูทะเลหมอกหนาๆ
ประวัติ เมืองเชียงคาน ที่เที่ยว ที่พัก
Cr http://www.edtguide.com/article/432754/ , https://chiangkhanwalkingstreetloei.wordpress.com/