Home > Uncategorized > เครื่องเสียงโบราณ

เครื่องเสียงโบราณ

โพสเมื่อ วันที่ 29 July 2018 | เปิดอ่าน 846 views | หมวดหมู่ : Uncategorized

เครื่องเสียงโบราณ

รวบรวมมาจากที่เคยพบเคยเห็นและเคยสัมผัส

นำมาจำแนกแยกแยะตามคุณสมบัติ

เป็นเพื่อเป็นข้อมูล แบบ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม นะครับ

1. แบ่งตามระบบขับเคลื่อนจานหมุน มี 3 แบบ

1.1 แบบลูกยาง

1.2 แบบสายพาน (Belt Drive)

1.3 แบบมอเตอร์ขับตรง (Direct Drive)

2. แบ่งตามระบบการทำงานของโทนอาร์ม จะมี 3 ระบบ

2.1 ระบบ Full Manual

2.2 ระบบ Semi Automatic (อัตโนมัติแค่ครึ่งหลัง)

2.3 ระบบ Full Automatic

3. แบ่งตามการรองรับการสั่นสะเทือนของตัวเครื่อง

3.1 แบบแท่นแข็ง ไม่มีการรองรับการสั่นสะเทือน

3.2 แบบแท่นแขวนลอย (คอยล์สปริงรับแรงสั่นสะเทือนทั้งเครื่อง)

3.3 แบบแท่นแข็ง ตัวเครื่องแขวนลอย (คอยล์สปริงรับแรงสั่นสะเทือนเฉพาะตัวเครื่อง)

4. แบ่งตามประเภทของมอเตอร์

4.1 มอเตอร์ใช้ไฟ AC

4.2 มอเตอร์ใช้ไฟ DC

สนใจซื้อสินค้า เครื่องเสียงโบราณ คลิกที่นี่

เป็นการจำแนกตามระบบการทำงาน ไม่วิจารณ์เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย นะครับ

1. แบ่งตามระบบขับเคลื่อนจานหมุน มี 3 แบบ

1.1 ขับเคลื่อนด้วยลูกยาง จะเป็นเครื่องในยุคแรก ๆ การทำงานจะมีลูกยางเป็นตัวถ่ายทอดการหมุนจากพูเล่ย์ของแกนมอเตอร์ส่งผ่านไปขับจานหมุน ความเร็วรอบของจานหมุน จะผันแปรไปตามขนาดของพูเล่ย์ แกนใหญ่รอบจะเร็ว แกนเล็กรอบจะช้า

อาจจะมีบางยี่ห้อออกแบบให้ลูกยางตั้งอยู่ในแนวดิ่ง และแกนมอเตอร์อยู่ในแนวนอน แต่การทำงานก็มีหลักการเดียวกันคือลูกยางเป็นตัวถ่ายถอดการหมุน จากพูเล่ย์มอเตอร์ไปสู่จานหมุน

1.2 ขับเคลื่อนด้วยสายพาน จะมีสายพานเป็นวงยางแบน ขนาดเส้นรอบจะวงใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ตามอัตราส่วนระหว่างวงรอบตัวในของจานหมุนกับขนาดพูเล่ย์ของแกนมอเตอร์

อาจจะมีแบบที่แยกจานหมุนออกเป็น 2 ส่วน คือจานหมุนหลักจะมีน้ำหนักมากเป็นตัวรองรับแผ่นเสียง วางทับอยู่ด้านบนของตัวจานหมุนรองซึ่งจะเป็นตัวรับแรงหมุนจากมอเตอร์ผ่านสายพานเช่นเดียวกัน

ยังมีแบบที่ตัวมอเตอร์และสายพานอยู่ด้านนอก สายพานอาจจะวงยางกลม หรือเส้นด้าย

1.3 แบบมอเตอร์ขับตรง (Direct Drive) แกนหมุนของมอเตอร์จะเป็นตัวขับจานหมุนโดยตรง บางยี่ห้อตัวจานหมุนจะเป็นส่วนหนึ่งของมอเตอร์ด้วย

2. แบ่งตามระบบการทำงานของโทนอาร์ม จะมี 3 ระบบ

2.1 ระบบ Full Manual ระบบนี้ผู้เล่นต้องจัดการเองทั้งหมด ตั้งแต่เปิดสวิชท์ ยกโทนอาร์มวางที่แผ่น เมื่อเล่นจบแผ่นต้องยกโทนอาร์มเก็บ และปิดเครื่องเอง

2.2 ระบบ Semi Automatic (กึ่งอัตโนมัติ) ระบบนี้ครึ่งแรกผู้เล่นต้องยกโทนอาร์มไปวางเอง ตอนที่ยกโทนอาร์มออกจากขาตั้ง จะทำหน้าที่เปิดสวิชท์ให้มอเตอร์เริ่มทำงานด้วย พอเล่นไปจนจบแผ่น กลไกอัตโนมัติก็จะเริ่มทำงานโดยยกโทนอาร์มขึ้นจากแผ่นแล้วนำมาเก็บไว้ที่ขาตั้ง รวมทั้งปิดสวิทช์ให้ด้วย

2.3 ระบบ Full Automatic เป็นระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ผู้ใช้เพียงวางแผ่น กดปุ่มหรือโยกคันบังคับ Start แค่ครั้งเดียว กลไกจะเปิดเครื่องยกโทนอาร์มไปวางตรงจุดที่ตั้งไว้ตามขนาดของแผ่น เมื่อเล่นจบแผ่นกลไกก็จะยกโทนอาร์มมาเก็บและปิดเครื่องให้ด้วย

3. การรองรับการสั่นสะเทือนของตัวเครื่อง

3.1 แบบแท่นแข็ง ไม่มีการรองรับการสั่นสะเทือน

ทำความรู้จักกับแผ่นเสียง

สำหรับคนที่มีแผ่นเสียงเก่าเก็บอยู่ที่บ้าน  อาจจะเป็นของคุณเองเมื่อครั้งรุ่นๆ หรือจะเป็นมรดกตกทอดมาจากรุ่นคุณปู่ คุณพ่อ

หรือว่าเพิ่งไปซื้อแผ่นใหม่แกะซีลมาเลย ไม่ว่าจะเป็นเพราะได้กล่ินความอบอุ่นในวันเก่าๆ (nostalgia)หรือเพราะความหลงไหลเสน่ห์แบบวินเทจ (vintage)

ขอแสดงความยินดีด้วย คุณมีอีกหนึ่งกรุสมบัติแห่งสุนทรียภาพ ที่ผ่านเวลาจากอดีต จนวนกลับมาอยู่ในมือคุณอีกครั้งในยุคนี้

 

ขอต้อนรับสู่ความงามของโลกอนาลอคในยุคดิจิตอล…โลกวินเทจในยุคดิจิตอล

 

“แผ่นเสียง”

สำหรับแต่ละคนก็จะมีที่มาของแผ่นเสียง ต่างยุคต่างสมัย แตกต่างกันไป

บางคนเป็นแผ่นครั่ง บางคนมีรูตรงกลางใหญ่ บางคนแผ่นเท่าคืบ บางคนแผ่นใหญ่เท่าศอก มีรูเล็กๆอยู่ตรงกลาง

หลายคนคงสงสัยว่าแต่ละแบบแตกต่างกันยังไง ถ้ามีแล้วจะเอามาเล่นเครื่องเล่นทุกวันนี้ได้มั้ย เพราะเครื่องเล่นสมัยตอนเด็กๆเสียไปแล้ว

อยากให้แผ่นเสียงเหล่านั้นเล่นเพลงได้ ต้องดูยังไงว่าเล่นกับเครื่องไหนได้บ้าง แผ่นครั่งของคุณตา จะหาเครื่องเล่นได้มั้ย

เรามีคำตอบครับ

แต่ขอแจกแจงประเภทแผ่นเสียงให้พ่อเข้าใจกันก่อนนะครับ ทุกวันนี้ เท่าที่ยังมีเห็นได้โดยทั่วไป แผ่นเสียงมี 3 ประเภท

  1. แผ่นครั่งโดยทั่วไปมีขนาด 10-12 นิ้ว ลักษณะจะเป็นแผ่นที่มีความหนาหน่อยประมาณ 3-4 mm. มีน้ำหนักมาก แตกง่าย คล้ายเครื่องกระเบื้องเซรามิก แผ่นครั่งนี้ มีมาตั้งแตปี่ 1910  ในไทยเองสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้สำหรับบันทึกเสียงวงปี่พาทย์ สมัยก่อนเรียกกันว่า “จานเสียง” ยุคหลังๆ จะเห็นได้จากแผ่นเพลงลูกทุ่งและลูกกรุงยุคแรกๆ  แผ่นครั่งนี้จะเล่นด้วยเครื่งเล่นที่มีความเร็วในการหมุน 78 รอบต่อนาที (RPM – round per minuet) ในสมัยก่อนก็เป็นประเภทเครื่องเล่นแผ่นเสียงโบราณ ที่ใช้ไขลาน ที่เห็นเป็นปากแตรนั่นแหละครับ

ปัจจุบัน เครื่องเล่นแผ่นเสียงส่วนใหญ่ไม่สามารถเล่นในสปีด78 รอบต่อนาทีได้ ยกเว้นบางรุ่นที่ทำมาพิเศษเพื่อรองรับแผ่นเสียงรุ่นเก่ารุ่นสะสมโดยเฉพาะ

  1. แผ่น single เป็นแผ่นเสียงที่ทำจากไวนีล (ชื่อพลาสติกชนิดหนึ่ง) ขนาด 7 นิ้ว เริ่มผลิตขึ้นในช่วงปี 1949 จะเล่นด้วยเครื่องเล่นที่มีความเร็วในการหมุน 45 รอบต่อนาที (RPM) ที่เรียกว่าแผ่น single เป็นเพราะ ค่ายเพลงจะเลือกเอาเพลงบางเพลงจากอัลบัมเต็ม มาทำแผ่น single นี้ซึ่งอาจจะเล่นได้เพียงหน้าละ 1 เพลง เพื่อใช้สำหรับ แจกจ่ายไปตามสถานีวิทยุ เพื่อโปรโมทเพลงนั้นๆ ก่อนที่จะออกแผ่นอัลบัมเต็ม(longplay)ต่อไป
  2. แผ่น Longplay (LP) เป็นแผ่นเสียงที่มีขนาด 12 นิ้ว ส่วนใหญ่ไว้สำหรับขายเป็นอัลบัมเต็มของศิลปิน ทำจากไวนีลเช่นกัน เริ่มผลิตขึ้นในช่วงปี 1948 จะเล่นด้วยเครื่องเล่นที่มีความเร็วในการหมุน 33 1/3 รอบต่อนาที (RPM) หน้านึงจะเล่นได้ประมาณ 5-7 เพลง หรือประมาณ 20นาทีเศษๆ

 

 

ทั้งแผ่นเสียง single และ longplay ซึ่งทำจากไวนีล จะมีน้ำหนักเบา บาง ตกไม่แตก เสียงจะนุ่มนวล และมีเสียงรบกวน (noise)ที่เกิดจากหัวเข็มที่น้อยกว่าแผ่นครั่ง

ความหนาของแผ่นเสียงทุกวันนี้อาจสังเกตได้จากหน้าแผ่น จะบอกหน่วนเป็นแกรม ซึ่งถ้าหนามากกว่า ก็จะมีโอกาสที่แผ่นเสียงจะบิดเบี้ยวได้น้อยกว่าด้วย ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการเก็บรักษา เพราะหากวางแผ่นเก็บไม่ดีหรือได้รับแรงกด จะทำให้แผ่นแอ่นโค้งงอได้ จะสังเกตได้จากเวลาเล่นแผ่นบนแท่นวางแผ่นเสียง จะเห็นว่า tone arm (หัวเข็ม) ส่ายขึ้นลงๆ เป็นช่วงๆ

 

ทีนี้สำหรับท่านที่จะหาซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงเครื่องใหม่ จะดูว่าเล่นกับแผ่นที่บ้านได้หรือไม่ ก็ต้องดูที่ความสามารถในการเล่่นความเร็วรอบครับ ว่าเลนความเร็วรอบได้กี่แบบตรงกับแผ่นที่บ้านที่มีอยู่มั้ย (กี่สปีด)

หลายๆรุ่นจะรองรับเฉพาะแผ่นเสียงหลังยุค50 เป็นต้นมา คือจะเล่นได้เฉพาะความเร็วรอบ 45 และ 33 1/3 รอบต่อนาที

แต่บางรุ่นจะออกแบบมาพิเศษเพื่อรองรับการเล่นแผ่นเสียงได้ทุกสปีด คือสามารถเล่นได้ทั้ง ความเร็วรอบ 45 ,33 1/3 และ 78 รอบต่อนาที

 

สำหรับแผ่นเสียง นอกจากดูจากประเภทแผ่นที่ภายนอกแล้ว ให้สังเกตอย่างนี้ครับ โดยทั่วไป ที่แผ่นเสียงเอง ตรงแกนกลางจะมี label ที่เป็นสติกเกอร์ติดตรงกลาง ส่วนใหญ่จะเขียนบอกหน้า A หน้า B และจะบอก ความเร็วรอบในการเล่นไว้ด้วย ให้สังเกตที่ RPM (round per minuet)

ทีนี้บางคนอาจสังสัย ถ้าตั้งความเร็วรอบ ไม่ตรงกับที่แผ่นผลิตขึ้นมา เช่นที่บ้านมีแผ่นเสียง 2แบบ คือ single และ longplay ถ้าไปวางเล่นแล้วลืมปรับสปีดเครื่องตามแผ่นที่เปลี่ยนประเภทไป จะทำไง?

ก็ไม่ถึงกับต้องซีเรียสครับ ถ้าแผ่นเสียงกับเครื่องเล่นตั้งสปีดความเร็วรอบในการเล่นไม่ตรงกับแผ่น เราก็ได้ยินเพลงนั้นเสียงแปลกๆครับ เช่น แผ่นมีสปีด 33 1/3 แต่ไปเล่นกับเครื่องที่ตั้งความเร็วรอบที่ 45 หรือ 78 RPM เพลงนั้นก็จะได้ยินเหมือนเพลงถูก fast forward ประมาณเสียงเพลงจากหนังตลกแบบซาลีแชปปลินที่เล่นเพลงเร็วๆ นั่นแหละครับ ก็แค่ไปปรับสปีดที่ตัวเครื่องให้มาอยู่ที่ 33 1/3 เสียงเพลงก็จะกลับมาเล่นในสปีดปรกติ เพลงเพราะเหมือนปกติครับ

แต่แนะนำว่าให้ตั้งสปีดให้ตรงแผ่นก่อนเล่นจะดีกว่านะครับ เพื่อรักษาหัวเข็มและรักษาล่องคลื่นที่แผ่นเสียงของเราให้อยู่ในสภาพดี

อยู่กับเราไปนานๆครับ

 

มีบางท่านถามมาว่า ไอ้แผ่นเสียงที่มีรูตรงกลางแผ่น บางแผ่นมีขนาดไม่เท่ากันเนี่ย บางแผ่นมีรูขนาดประมาณ 1นิ้ว บางแผ่นมีรูขนาดครึ่งเซนติเมตร จะเล่นกับเครื่องแบบไหน ยังไง ?

แผ่นเสียงส่วนใหญ่จะมีรูตรงกลางขนาด ครึ่งเซนติเมตรครับ ซึ่งจะพอดีกับแกนวางแผ่นเสียงตามเครืื่องเล่นทั่วไปอยู่แล้ว แต่ถ้าไปเจอแผ่นที่มีรูกว้างประมาณ1นิ้ว ก็ให้ไปหาซื้ออแดปเตอร์ (adaptor)มาใส่เพ่ิมครับ จะเป็นเหมือนวงแหวนขนาดประมาณ1 นิ้ว(เพื่อสอดไปในรูแผ่นเสียงขนาด1นิ้วได้) และจะมีรูตรงกลางขนาดเล้ก (ประมาณ ครึ่งเซนติเมตร) ที่สามารถวางสอดลงไปบนแกนเครื่องเล่นแผ่นเสียงได้พอดี เท่านี้ก็เล่นแผ่นเสียงรุ่นเก๋าที่มีรูแกนกลางกว้างๆได้แล้ว

 

ทีนี้บางเครื่องที่รองรับการเล่นแผ่นแบบรุ่นเก๋า ถ้าสังเกตดีๆมักจะมีอแดปเตอร์แถมกับตัวเครื่องมาอยู่แล้วด้วยนะครับ  ไม่ต้องไปหาซื้อเพ่ิมให้เปลืองสตางค์  แต่สำหรับบางคนที่ไม่มีมากับตัวเครื่อง ก็ไม่เป็นไรครับ หาซื้อเอาไม่ยาก มีขายอยู่ทั่วไปครับ