อุบลราชธานี เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและของประเทศไทย ทั้งยังเป็นตำบลที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก โดยเป็นจังหวัดแรกที่ได้เห็นดวงอาทิตย์ก่อนพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ
จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี มีพื้นที่กว้างใหญ่ ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นจังหวัดใหม่คือจังหวัดยโสธรในปี พ.ศ. 2515 และจังหวัดอำนาจเจริญในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งถ้ารวมพื้นที่อีกสองจังหวัดที่แยกออกไป จังหวัดอุบลราชธานีจะมีพื้นที่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่นำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล
รูปดอกบัวบานชูช่อพ้นน้ำ
ต้นยางนา
พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ดำรงฐานะ เจ้าประเทศราช เป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี เจ้าคำผงเป็นโอรสของพระเจ้าตาและเจ้านางบุศดี (เชื้อสายราชวงศ์เชียงรุ้ง สิบสองปันนา) สมภพเมื่อปี พ.ศ. 2252 ที่นครเวียงจันทน์ เสกสมรสกับเจ้านางตุ่ยธิดาเจ้าอุปราช (ธรรมเทโว) พระอนุชาของพระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) เจ้านครจำปาศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระประทุมสุรราช เมื่อปี พ.ศ. 2323 อันเป็นตำแหน่งนายกกองใหญ่คุมเลก (ไพร่) อยู่ที่บ้านดู่ บ้านแก ขึ้นกับนครจำปาศักดิ์ ปี พ.ศ. 2329 ได้ย้ายครอบครัวและไพร่พลจากบ้านดู่ บ้านแก มาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่ตำบล ห้วยแจระแม โดยพระบรมราชาอนุญาตในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และตั้งชื่อ เมืองนี้ว่า “เมืองอุบล” จากการร่วมปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วในปี พ.ศ. 2334 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพระประทุมสุรราช (เจ้าคำผง) เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ และยกฐานะเมืองอุบลเป็น “เมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไล ประเทษราช” เมื่อวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1151 ตรงกับปี พ.ศ. 2335 พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ได้สร้างวัดหลวงเป็นวัดคู่เมืองขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งถือเป็นวัดแรกของเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนนี้ พ.ศ. 2338 พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ได้ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ จุลศักราช1157 รวมอายุได้ 86 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวะนาไล ประเทษราช อยู่ 3 ปี
เมื่อปีพุทธศักราช 2228 เกิด วิกฤติทางการเมืองในนครเชียงรุ้ง เพราะกลุ่มจีนฮ่อธงขาวยกกำลังปล้น เมืองเจ้านครเชียงรุ้งคือ เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี และเจ้าปางคำ ได้อพยพไพร่พลมาขอพึ่งบารมีพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชของเวียงจันทน์ จึงโปรดให้นำไพร่พลไปตั้งเมืองที่หนองบัวลุ่มภู (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) โดยตั้งชื่อเมืองว่า “นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน”
ต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้เจ้าปางคำเสกสมรสกับพระราชนัดดามีโอรส คือ เจ้าพระตา เจ้าพระวอซึ่งมีความสำคัญต่อเมืองอุบลราชธานีอย่างยิ่ง เพราะต่อมา ปีพุทธศักราช 2314 เกิดสงครามแย่งชิงอำนาจระหว่างเวียงจันทน์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยพระเจ้าสิริบุญสาร พระเจ้าแผ่นดินอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ขอบุตรธิดาของเจ้าพระตา เจ้าพระวอ ไปเป็นนางห้ามและนางสนม แต่เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ไม่ยอมยกให้ ทำให้พระเจ้าจ้าสิริบุญสาร ส่งกองทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภู เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ยกกองทัพออกต่อสู้ จนกองทัพเวียงจันทน์ต้องพ่ายกลับไปหลายครั้ง
สงครามระหว่างเวียงจันทน์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู ต่อสู้กินเวลายาวนานถึง 3 ปี ไม่มีผลแพ้ชนะกัน พระเจ้าสิริบุญสารได้ส่งทูตไปขอกองทัพพม่าที่เมืองนคร เชียงใหม่ ให้มาช่วยตีเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยมีเงื่อนไขเวียงจันทน์ยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า กองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ จึงให้ม่องระแง คุมกองทัพมาช่วยเจ้าสิริบุญสารรบ เมื่อฝ่ายเจ้าพระตาทราบข่าวศึก คะเนคงเหลือกำลังที่จะต้านศึกกองทัพใหญ่กว่าไว้ได้ จึงให้เจ้าคำโส เจ้าคำขุย เจ้าก่ำ เจ้าคำสิงห์ พาไพร่พล คนชรา เด็ก ผู้หญิง พร้อมพระสงฆ์ อพยพมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อหาที่สร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ไว้รอท่า หากแพ้สงครามจะได้อพยพติดตามมาอยู่ด้วย
โดยแรกได้มาตั้งเมืองที่บ้านสิงห์โคก บ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) และการสู้รบในครั้งสุดท้าย เจ้าพระตาถึงแก่ความตายในสนามรบ เจ้าพระวอผู้เป็นบุตรชายคนโต พร้อมด้วยพี่น้องคือ นางอุสา นางสีดา นางแสนสีชาด นางแพงแสน เจ้าคำผง เจ้าทิตพรหม และนางเหมือนตา ได้หลบหนีออกจากเมืองมารับเสบียงอาหารจากบ้านสิงห์โคก สิงห์ท่า แล้วผ่านลงไปตั้งเมืองที่ “ดอนมดแดง” พร้อมขอพึ่งพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร แห่งนครจำปาศักดิ์ ฝ่ายเจ้าสิริบุญสารทราบข่าวการตั้งเมืองใหม่ จึงให้อัคฮาดหำทอง และพญาสุโพ ยกกองทัพมาตีเจ้าพระวอสู้ไม่ได้ และเสียชีวิตในสนามรบ เจ้าคำผงผู้น้องจึงขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่ม พร้อมมีใบบอกลงไปที่เมืองนครราชสีมา และกรุงธนบุรี เพื่อขอพึ่งบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งให้ เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกกองทัพมาช่วยเจ้าคำผง ด้านพญาสุโพรู้ข่าวศึกของเจ้ากรุงธนบุรี จึงสั่งถอยทัพกลับเวียงจันทน์ แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้เดินทัพติดตามทัพเวียงจันทน์ จนสามารถเข้ายึดเมืองได้สำเร็จ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พร้อมคุมตัวเจ้าสิริบุญสารไปกรุงธนบุรี ส่วนเจ้าคำผงหลังเสร็จศึกได้กลับไปตั้งเมืองอยู่ที่ดอนมดแดงเหมือนเดิม กระทั่งปีพุทธศักราช 2319 เกิดน้ำท่วมใหญ่ เจ้าคำผงจึงอพยพไพร่พลไปอยู่ที่ดอนห้วยแจระแม (ปัจจุบัน คือบ้านท่าบ่อ) รอจนน้ำลด แล้วจึงหาทำเลที่ตั้งเมืองใหม่ที่ที่ตำบลบ้านร้าง เรียกว่า ดงอู่ผึ้งริมฝั่งแม่น้ำมูลอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน เมื่อปีพุทธศักราช 2320 พร้อมกับได้สร้างพระอารามหลวงขึ้นเป็นวัดแรก
ต่อมาปีพุทธศักราช 2322 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี เชิญท้องตราขึ้นมาตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี พร้อมให้เจ้าคำผงเป็นเจ้าเมืองในราชทินนาม “พระประทุมราชวงศา” เจ้าทิตพรหมเป็นพระอุปฮาด เจ้าก่ำเป็นราชวงศ์ เจ้าสุดตาเป็นราชบุตร โดยเป็นคณะอาญาสี่ชุดแรกของเมืองอุบลราชธานี จนถึงกาลเปลี่ยนแผ่นดินปีพุทธศักราช 2334 สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เกิดขบถอ้ายเชียงแก้วเขาโอง ยกกำลังมาตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าฝ่ายหน้าผู้น้องพระประทุมราชวงศาได้ยกกำลังไปรบ สามารถจับอ้ายเชียงแก้วได้ และทำการประหารชีวิตที่บริเวณแก่งตะนะ
ในปีถัดมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเมืองอุบลขึ้นเป็นเมืองประเทศราช แต่งตั้งให้พระประทุมราชวงศาเป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) เจ้าครองเมือง เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช พระราชทานพระสุพรรณบัตร และเครื่องยศเจ้าเมืองประเทศราช พร้อมทำพิธีสบถสาบานถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 แรม 13 ค่ำ จุลศักราช 1154 ปีชวด จัตวาศก ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม 2335 โดยเป็นเจ้าเมืองคนแรกของอุบลราชธานี ถึงปี 2338 พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ทิดพรหม) น้องชายเจ้าพระประทุม จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนต่อมา รวมมีเจ้าเมืองอุบลราชธานี ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งทั้งสิ้น 4 ท่าน
ภายหลังการก่อตั้งเมืองอุบลฯ แล้ว ก็ได้มีการตั้งเมืองสำคัญในเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นอีกหลายเมือง เช่น ปี พ.ศ. 2357 โปรดฯให้ตั้งบ้านโคกพเนียง เป็นเมืองเขมราฐธานี
ปี พ.ศ. 2366 ยกบ้านนาคอขึ้นเป็นเมืองโขงเจียง (โขงเจียม) โดยขึ้นกับนครจำปาศักดิ์
ปี พ.ศ. 2388 ในรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านช่องนางให้เป็นเมืองเสนางคนิคม ยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ให้หลวงอภัยเป็นหลวงยกบัตรหลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด ตั้งหลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ เป็นเจ้าเมือง รักษาราชการแขวงเมืองเดชอุดม
ปี พ.ศ. 2390 ตั้งบ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็นเมืองบัวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองบัวบุณฑริก หรืออำเภอบุณฑริกในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2401 ตั้งบ้านค้อใหญ่ ให้เป็นเมือง ขอตั้งท้าวจันทบรม เป็นพระอมรอำนาจ เป็นเจ้าเมือง ตั้งท้าวบุตตะเป็นอุปฮาด ให้ท้าวสิงหราชเป็นราชวงศ์ ท้าวสุริโยเป็นราชบุตร รักษาราชการเมืองอำนาจเจริญขึ้นกับเมืองเขมราฐ
ปี พ.ศ. 2406 ในรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านกว้างลำชะโด ตำบลปากมูล เป็นเมืองพิบูลมังสาหารและให้ตั้งบ้านสะพือ เป็นเมืองตระการพืชผล ตั้งท้าวสุริยวงษ์ เป็นพระอมรดลใจ เป็นเจ้าเมือง
ปี พ.ศ. 2422 ในรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านท่ายักขุเป็นเมืองชานุมานมณฑล และให้ตั้งบ้านเผลา (บ้านพระเหลา) เป็นเมืองพนานิคม
ปี พ.ศ. 2423 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนากอนจอ เป็นเมืองวารินชำราบ
ปี พ.ศ. 2424 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านจันลานาโดม เป็นเมืองโดมประดิษฐ์ (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่อำเภอน้ำยืน)
ปี พ.ศ. 2425 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทีเป็นเมืองเกษมสีมา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอม่วงสามสิบนั่นเอง
อุบลราชธานี จึงเป็นเมืองที่มีเขตการปกครองอย่างกว้างขวางที่สุด ทางด้านตะวันออกของภาคอีสานตอนล่างครอบคลุมที่ราบและแม่น้ำสายสำคัญของภาค อีสานถึง 3 สายด้วยกัน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง อีกทั้งยังมีแม่น้ำสายเล็กๆที่มีกำเนิดจากเทือกเขาในพื้นที่ เช่น ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น นางอุบล วังเจริญไพศาล นายยกเทศมลตรี
แม่น้ำทั้งหลายเหล่านี้ไหลผ่านที่ราบทางด้านเหนือและทางด้านใต้ทอด เป็นแนวยาวสู่ปากแม่น่ำมูลและแม่น้ำโขง ยังความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในบริเวณแถบนี้ทั้งหมด ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์มาแต่ โบราณกาล
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกมณฑลทั้งประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งแยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมาในขณะนั้น ได้กลายเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลังจากนั้นจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้ถูกแบ่งออก โดยอำเภอยโสธรและอำเภอใกล้เคียงเป็นจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. 2515 และต่อมาปี 2536 ได้ถูกแบ่งอีกครั้ง โดยอำเภออำนาจเจริญและอำเภอใกล้เคียงเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เป็นอันดับ 5 ของไทย และมีประชากรลำดับที่ 3 ของประเทศ
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ไปสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 24 (สายโชคชัย-เดชอุดม) ไปจนถึงอุบลราชธานี หรือใช้ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แล้วต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี
มีรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถท้องถิ่น และรถเร็วเสริมเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ จากกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ สุดปลายทางที่อำเภอวารินชำราบ โดยจังหวัดอุบลราชธานี มีสถานีย่อย 2 แห่ง คือ สถานีบุ่งหวาย และสถานีห้วยขะยุง
เวลาเดินรถไฟ ประกอบด้วย
การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดอุบลราชธานีโดยรถโดยสารประจำทางทั้งชนิดรถธรรมดาและรถปรับอากาศนั้น จะออกเดินทางจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิตใหม่) มายังสถานีปลายทางคือ สถานีขนส่งผู้ดดยสารจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ บริษัท ขนส่ง จำกัด ยังมีบริการรถโดยสารระหว่างอุบลราชธานีและเมืองปากเซของประเทศลาวทุกวัน[6]
ส่วนรถประจำทางระหว่างจังหวัดที่เดินรถระหว่างอุบลราชธานีไปถึงจังหวัดปลายทางต่างๆ ได้แก่
นอกจากนี้แล้ว กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศถึงการเปิดเดินรถสายอุบลราชธานี -เกาะสมุย เพื่อเชื่อมเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคในอนาคต และอีกในอนาคตข้างหน้า กรมการขนส่งทางบกยังมีแผนการที่จะเปิดเดินรถสายสายเหนืออีก 1 เส้นทาง คือ เส้นทางอุบลราชธานี – เชียงราย – แม่สาย โดยอาจดำเนินการบริษัทนครชัยแอร์ เพื่อเชื่อมเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคในอนาคต ส่วนแผนการเปิดเส้นทางเดินรถระหว่างประเทศของกรมการขนส่งทางบกนั้น ในปัจจุบันมีอยู่ 3 เส้นทาง คือ สายอุบลราชธานี-จำปาศักดิ์, อุบลราชธานี-คอนพะเพ็ง และ อุบลราชธานี-เสียมราฐ
จังหวัดอุบลราชธานี มีท่าอากาศยานนานาชาติจำนวน 1 แห่ง โดยมีเที่ยวบินจากจังหวัดอุบลราชธานีสู่ กรุงเทพมหานคร และ เชียงใหม่ ให้บริการเป็นประจำทุกวัน สายการบินที่ให้บริการ ได้แก่[7]
การบริการรถเช่าในจังหวัดอุบลราชธานีนั้นดำเนินการโดยภาคเอกชน นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถเช่าต่างๆได้ที่ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี หรือติดต่อโดยตรงกับผู้ให้บริการรถเช้าในพื้นที่ ตัวอย่างผู้ให้บริการรถเช้าในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เช่น
แผนที่แสดงเส้นทางเดินรถเมล์ขนาดเล็กภายในตัวเมืองอุบลราชธานี-วารินชำราบ
ในปัจจุบัน การเดินทางภายในเขตตัวเมืองอุบลราชธานี-วารินชำราบ และบริเวณโดยรอบนั้นมีการบริการด้วยรถสองแถวประจำทางขนาดเล็กที่ให้การบริการโดยเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 11 เส้นทาง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
สำหรับการเดินทางในเขตเมืองอุบลราชธานีและวารินชำราบนั้น ในปัจจุบันมีแท็กซี่มีเตอร์ให้บริการประมาณ 500 คัน ภาคเอกชนที่เปิดให้บริการเดินรถแท็กซี่ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่
อ่านรีวิว ที่เที่ยว อุบล
หนึ่งในสถานที่สำคัญทางโบราณคดีที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทยที่ใครๆ ก็ต้องคุ้นหูคุ้นตาจากภาพถ่ายและคำบอกเล่ากันมาบ้างแล้ว แต่จะตื่นตากว่าถ้าได้มาเห็นเหล่าภาพเขียนสีของผาแต้มด้วยตาของคุณเอง ซึ่งมนุษย์ในยุคโบราณบรรจงวาดไว้บนผนังของผาแต้มตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์! มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี บอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตของคนในสมัยนั้นด้วยภาพคน สัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ สัญลักษณ์ และลวดลายอย่างง่ายๆ โดยบริเวณผาแต้มนั้นมีกลุ่มภาพเขียนสีใหญ่ๆ อยู่ทั้งหมด 4 จุด สามารถเดินลงจากด้านบนของหน้าผาลงมาชมภาพเขียนได้อย่างสะดวกสบาย
ถ้าคุณอยากเป็นคนแรกที่ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นในประเทศไทยล่ะก็ ต้องมาที่ผาชะนะไดที่เดียวเท่านั้น! เพราะสถานที่แห่งนี้คือจุดอ้างอิงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นของประเทศไทย และตั้งอยู่แทบจะปลายสุดฝั่งตะวันออกของประเทศแล้ว โดยหน้าผาแห่งนี้ตั้งอยู่ในป่าดงนาทามของอำเภอโขงเจียม เป็นหน้าผาสูงชันที่มีวิวทิวทัศน์สวยงาม สามารถมองเห็นผื่นป่าดงนาทามและแม่น้ำโขงไปจรดสุดขอบฟ้าของประเทศลาวได้อย่างชัดเจน เป็นสถานที่ยอดนิยมอีกแห่งสำหรับการชมทะเลหมอกในยามพระอาทิตย์ขึ้น และยิ่งพิเศษกว่าใครถ้าคุณมีโอกาสได้มาชมพระอาทิตย์แรกแห่งปีบนหน้าผาแห่งนี้
หรือเรียกกันในท้องถิ่นว่า “น้ำตกลงรู” เป็นหนึ่งในน้ำตกที่สวยงามแปลกตาเป็นอย่างมาก ตั้งอยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีลักษณะเป็นรูหินรูปวงกลมขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำและกรวดหินตามธรรมชาติ โดยน้ำจะไหลผ่านรูเป็นสายลงมาสู่แอ่งที่ใสสะอาด มีละอองน้ำฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งบริเวณอย่างชุ่มฉ่ำ ซึ่งน้ำตกลักษณะนี้มีอยู่ที่นี่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และยิ่งถ้าคุณมาชมน้ำตกแห่งนี้ในคืนวันเพ็ญ ก็จะยิ่งได้เห็นความสวยงามของน้ำตกกระทบกับแสงจันทร์ที่สาดส่องลอดช่องรูหินเข้ามา เป็นภาพมหัศจรรย์ที่หาชมได้ยากจนต้องไปดูด้วยตาตนเองสักครั้ง
ผืนป่าที่มีชื่อเสียงของอุบลราชธานีในด้านการเดินชมธรรมชาติแบบชิลๆ สำหรับฤดูกาลที่น่าท่องเที่ยวที่สุดคือช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ป่าดงนาทามสวยงามไปด้วยทุ่งดอกไม้ป่าหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นดอกทิพเกสรสีม่วง ดอกมณีเทวาสีขาวสะอาดเหมือนปุยนุ่น และดอกสร้อยสุวรรณสีเหลืองอร่าม ขึ้นสลับกันไปทั่วทั้งพื้นที่โล่งกว้างของผื่นป่า และยังมีลานหินกว้างใหญ่ซึ่งถือเป็นจุดหนึ่งที่สามารถชมดวงดาวบนท้องฟ้าในยามค่ำคืนได้อย่างน่าประทับใจ ส่วนที่สำคัญที่พลาดไม่ได้อีกจุดคือเสาเฉลียงคู่ ซึ่งเป็นเสาหินที่ถูกกัดเซาะจากลมและน้ำจนมีรูปร่างที่ดูแปลกตา
อุทยานแห่งชาติป่าที่ได้รับฉายาว่า “สามเหลี่ยมมรกต” เพราะเป็นพื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย ลาว และกัมพูชา โดยอุทยานแห่งชาติป่าภูจอง-นายอยแห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามทางธรรมชาติมากมาย ทั้งน้ำตก ลำห้วยที่สามารถล่องแพไม้ชมธรรมชาติได้ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติหลายเส้นที่ผ่านผื่นป่าและทุ่งดอกไม้ป่าบนลานหินอันสวยงามแปลกตา ซึ่งทุ่งดอกไม้ในลักษณะนี้จะถูกเรียกว่า “พลาญ” และยังมีจุดชมวิวสวยๆ อย่าง “ภูหินด่าง” ซึ่งเป็นภูเขาหินสูงใหญ่ สามารถมองเห็นทัศนียภาพของผื่นป่าได้ไกลถึงประเทศลาว
หนึ่งในน้ำตกสวยของอุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย ซึ่งมีชื่อท้องถิ่นว่า “น้ำตกบักเตว” เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึง 45 เมตร ไหลลงมาจากชั้นผาแบบทิ้งดิ่งอย่างสวยงาม ตามชั้นผามีต้นไม้ขึ้นแทรกแซมตัดกับขอบผาหินปูนสีขาว ด้านล่างเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำใสสะอาดสีอมเขียวมรกตและยังมีหาดทรายคล้ายชายหาด นักท่องเที่ยวสามารถลงเล่นน้ำได้ ทั้งยังมีเส้นทางเดินขึ้นไปชมวิวบริเวณส่วนบนของน้ำตกอีกด้วย และคุณยังสามารถใช้รถยนต์เดินทางไปถึงตัวน้ำตกได้อย่างสะดวกสบาย โดยน้ำตกห้วยหลวงตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 3.5 กิโลเมตรเท่านั้น
นี่คือหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะเป็นแก่งหินน้อยใหญ่ที่โผล่ขึ้นจากบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงในช่วงฤดูแล้ง สามารถเดินลงไปชมได้ โดยแต่ละแก่งหินนั้นมีหลุมน้อยใหญ่จากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติกว่า 3,000 หลุม จนทำให้ภูมิทัศน์ในบริเวณนี้ดูแปลกตากว่าที่ไหนๆ และยังเป็นที่มาของชื่อ “สามพันโบก” ซึ่งโบกในภาษาท้องถิ่นแปลว่าหลุมหรือแอ่ง และในแต่ละโบกยังมีการตั้งชื่อตามลักษณะรูปร่างที่น่าอัศจรรย์อีกด้วย อาทิเช่น โบกรูปหัวใจคู่ ที่ดูคล้ายรูปหัวใจ 2 ดวง และโบกมิกกี้เมาส์ ที่หน้าตาของมันดูเหมือนโลโก้มิกกี้เมาส์เป็นอย่างมาก
นอกจากสามพันโบกแล้ว ยังมีพื้นที่ลักษณะแปลกริมแม่น้ำโขงที่คล้ายๆ กันอย่าง “หาดชมดาว” อยู่ด้วยไม่ไกล โดยหาดแห่งนี้เป็นแก่งหินขนาดใหญ่สลับกับเนินทราย โดดเด่นด้วยหน้าผาหินสลับซับซ้อนเป็นชั้นๆ ถูกเหลาให้โค้งมนด้วยกระแสน้ำและลม มีช่องแคบระหว่างผาหินซึ่งขังน้ำของแม่น้ำโขงเอาไว้ในช่วงฤดูแล้ง ส่วนไฮไลท์ของที่นี่คือ “หินชมนภา” แผ่นหินแบนมนขนาดใหญ่บนผาที่คุณสามารถขึ้นไปยืนถ่ายภาพสวยๆ ได้ หาดชมดาวจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดูยิ่งใหญ่ งดงาม น่าตื่นตาตื่นใจ และที่สำคัญสถานที่แห่งนี้เพิ่งเปิดเป็นที่เที่ยวของอุบลราชธานีเมื่อไม่นานมานี้เอง
วัดบนเนินเขาสูงที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนวัดอื่นใด เพราะนอกจากพระอุโบสถแบบเปิดที่งดงามด้วยสถาปัตยกรรมและการตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตาแล้ว ในยามค่ำคืนของทุกวันอุโบสถแห่งนี้ก็จะมีความพิเศษกว่าตอนกลางวัน เพราะมีจิตรกรรมรูปต้นกัลปพฤกษ์เรืองแสงสีเขียวเป็นลวดลายอ่อนช้อยบนผนังด้านหลังอุโบสถ สวยสง่าแปลกตาภายใต้หมู่ดาวมากมายในยามฟ้าเปิด โดยสีเขียวที่เรืองแสงออกมานี้จะเห็นเป็นอ่อนๆ หากมองด้วยตาเปล่า แต่จะมองเห็นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อถูกถ่ายภาพ จึงเป็นที่มาของอีกชื่อหนึ่งของวัดที่เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า “วัดเรืองแสง”
หรือวัดพระธาตุหนองบัว เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งของ “พระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์” พระธาตุที่ยิ่งใหญ่กลางเมืองอุบลฯ มีประวัติการก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 โดยจำลองแบบมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย มีรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูแหลมสูง ตัวองค์พระธาตุมีสีขาวสะอาดและประดับด้วยลวดลายสีทองอร่ามตา โดยภายในพระธาตุเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ นับเป็นหนึ่งในวัดที่ชาวเมืองนิยมเข้ามากราบไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และชื่นชมความงามทั้งภายนอกและภายในของพระธาตุแห่งนี้
และยังมีที่เที่ยวอีกมากมาย เช่น ถนนคนเดิน เขมราฐ
อ่านรีวิวเต็มๆ >>> ที่พัก อุบล <<<
โรงแรม เป็นตาฮัก (Pen Ta Hug Hotel)
ราคาที่พักเริ่มต้นที่ 680 บาท
ที่อยู่ : 13 ซ.สุขาอุปถัมภ์ 9 ถ.สุขาอุปถัมภ์ ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ : 045285400 , 0853116088
โรงแรม เดอพราวด์ (De Proud Hotel) ที่พักในเมืองอุบล ที่ให้บริการห้องพักที่มีการตกแต่งแต่ละห้องแตกต่างกันออกไป ทำให้รู้สึกแปลกใหม่ทุกครั้งเมื่อเข้าพัก พร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ฟรี Wi-Fi ทุกห้อง มีแผนกต้อนรับ 24 ชั่วโมง เช็คอิน/เช็คเอาต์ด่วน ที่เตรียมไว้สำหรับแขกผู้เข้าพักโดยเฉพาะ
ราคาที่พักเริ่มต้นที่ 650 บาท
ที่อยู่ : 42/4 ซ.ชยางกูร 40 ถ.ชยางกูร ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ : 045311162 , 045311163 , 0956201919
เดอะ บลิส อุบล (The Bliss Ubon) ที่พักเมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สมบูรณ์แบบสำหรับเที่ยวชม อุบลราชธานี โรงแรมแห่งนี้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ออกแบบมาเพื่อมอบความสะดวกสบายสูงสุดแก่ผู้เข้าพัก ฟรี Wi-Fi ทุกห้อง, ระบบความปลอดภัย 24 ชั่วโมง, แม่บ้านทำความสะอาดรายวัน, แผนกต้อนรับ 24 ชั่วโมง, Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ ห้องพักแต่ละห้องตกแต่งอย่างมีระดับพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย
The Bliss Ubon
ราคาที่พักเริ่มต้นที่ 650 บาท
ที่อยู่ : 9 ซ.สุขาอุปถัมภ์ ต.แจระแม อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ : 045 281 919
เดอะ กู๊ส คาเฟ่ แอนด์ โฮสเทล อุบล (The Goose Cafe and Hostel Ubon) เป็นโฮสเทลเล็กๆ ในเมืองอุบล บรรยากาศสบายๆ เหมาะกับมาพักผ่อนหย่อนใจพร้อมสัมผัสกับวิถีชีวิตของคนอีสานแท้ๆ มีพื้นที่เลานจ์ส่วนกลางให้ผู้เข้าพักได้พบปะพูดคุยกันอีกด้วย
The Goose Cafe and Hostel Ubon
ราคาที่พักเริ่มต้นที่ 500 บาท
ที่อยู่ : 19/3 ซ.สรรพสิทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ : 094 029 0382
ฮ็อป อินน์ อุบลราชธานี (Hop Inn Ubon Ratchathani) ที่พักอุบลราชธานี ให้บริการห้องพักที่มีการตกแต่งอย่างเรียบง่ายสบายตา พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน โดยตัวโรงแรมและห้องพักจะเน้นไปในโทนสีฟ้าขาว สะอาด น่าพักผ่อน
Hop Inn Ubon Ratchathani
ราคาที่พักเริ่มต้นที่ 550 บาท
ที่อยู่ : 263 ม.1 ถ.เลี่ยงเมือง ต.แจระแม อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ : 0922601297 , 045355199
ชวนชมดาวหางโคจรใกล้ดวงอาทิตย์
นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า จากที่มีดาวหางสองดวงโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและสังเกตได้ในประเทศ ตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มี.ค.
โรงแรมดุสิตพัทยา ที่พักตากอากาศริมทะเลห้องพักสุดหรูหรา
โรงแรมดุสิตพัทยา – โรงแรมที่พักเกิดใหม่ ขึ้นมามากมายในทุก ๆ วัน บางแห่งแข่งขันกัน