Home > รีวิวซีรีย์ > ซีรี่ย์ พากษ์ไทย รักสยามเท่าฟ้า First Flight

ซีรี่ย์ พากษ์ไทย รักสยามเท่าฟ้า First Flight

โพสเมื่อ วันที่ 22 March 2016 | เปิดอ่าน 1,079 views | หมวดหมู่ : รีวิวซีรีย์

รีวิวหนัง : รักสยามเท่าฟ้า First Flight

รักสยามเท่าฟ้า First Flight

วันเข้าฉาย : 27/12/2007
ชื่อภาษาอังกฤษ : First Flight
ชื่อภาษาไทย : รักสยามเท่าฟ้า
ผู้กำกับ : ธนิตย์ จิตนุกูล
ผู้แต่ง : ก้องเกียรติ โขมศิริ
ค่ายผู้ผลิต : บริษัท อาวอง จำกัด
ค่ายหนัง : อาร์ เอส.ฟิล์ม แอนด์ ดิสทริบิวชั่น
ผู้อำนวยการสร้าง : เกรียงไกร  เชษฐโชติศักดิ์, สุรชัย  เชษฐโชติศักดิ์
ควบคุมงานสร้าง : ธนิตย์  จิตนุกูล, ธีรนิติ์ ธำรงวินิจฉัย, สหรัถ วิไลเนตร, พละ บุตรเพชร
โครงเรื่อง : บัณฑิต ฤทธิ์ถกล, สุทธากร  สันติธวัช, พิสุทธิ์  แพร่แสงเอี่ยม, ธนิตย์  จิตนุกูล

:+: นักแสดงภาพยนตร์ รักสยามเท่าฟ้า First Flight :+:
ศรราม เทพพิทักษ์  ….  ดวง
ขจรศักดิ์ รัตนนิสัย  ….  หลวงกาจ
Tom Claytor ทอม เคลย์เตอร์  ….  ปิแอร์ ปูแปง
วิมุตติพร ทองมาก  ….  มาลัย
กฤษณ์ สุวรรณภาพ  ….  อัษฎา
กฤษฎา พัชรพิพัฒน์  …  ดำเกิง
วุฒิชัย ไหมกัน  ….  รัตน์
ณัฐวุฒิ สุวรรณรัตน์  …. เนือง

:+: ตำนานการเลื่อนของ แรกบิน จนมาถึง รักสยามเท่าฟ้า :+:

2547 ข่าวการสร้าง แรกบิน เริ่มประกาศว่าเป็นหนึ่งใน 10 โปรเจ็คที่ทางอาร์เอสจะลงทุนสร้าง ถึงกับออกแบบโปสเตอร์ไว้เรียบร้อยแล้ว
กุมภาพันธ์ 2549 ในเทศกาลหนังกรุงเทพ อาร์เอสเลือก แรกบิน เป็นหนึ่งในสามโปรเจ็คหนังจากบริษัทที่จะฉายในปีนั้นพร้อมดีไซน์โปสเตอร์ใหม่แต่หนังก็ยังไม่ได้ฉายในปีนั้น
2550 กำหนดการว่าจะฉายหลายครั้งพร้อมวางแผนประชาสัมพันธ์
พฤษภาคม ออกแบบโปสเตอร์ภาษาอังกฤษฉบับใหม่ไปแนะนำที่เมืองคานส์
กลางปี กำหนดการฉายไว้ว่าเป็น 1 พฤศจิกายน 2550 อย่างแน่นอน
กันยายน 2550 เกิดเครื่องบินตกที่ภูเก็ตอาร์เอสสั่งเลื่อนการฉายไปปีหน้า เพราะกลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ชม
พฤศจิกายน 2550 กำหนดการเลื่อนไปเลื่อนมาหลายครั้งก่อนที่จะเลื่อนมาเป็น 27 ธันวาคม พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็นรักสยามเท่าฟ้าคล้ายๆ กับสโลแกนของผู้สนับสนุนอย่างการบินไทยหนนี้ไม่เปลี่ยนใจแน่นอนจ้าพร้อมที่จะชนกับหนังปีใหม่สามเรื่อง
ธันวาคม  2550 อาร์เอสประกาศเลื่อนอีกขอไปฉายเดือนปลายเดือนมกราคมแทน

:+: ผู้กำกับเปิดใจ จากประวัติศาสตร์สู่แรงบันดาลใจ :+:

จากประวัติศาสตร์จริงรวมกับแรงบันดาลใจที่แม่เล่าถึงรุ่นปู่ย่าที่เคยตั้งคำถาม “เหล็กจะไปบินบนฟ้าได้ยังไง” ทำให้  ปื้ด ธนิตย์ จิตนุกูล ผู้กำกับฯ ผูกเป็นเรื่องราวภาพยนตร์แห่งแรงบันดาลใจ “รักสยามเท่าฟ้า” “เราได้แรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์จริงที่บันทึกไว้ว่าในบรรดานักบินที่ไปฝึกบินฝรั่งเศสมีนายทหารชั้นประทวนเพียงคนเดียวที่เหลือเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรและลูกขุนนางหมดเลยเราก็เกิดเป็นแรงบันดาลใจว่ามีนายทหารชั้นประทวนคนหนึ่งได้ขึ้นไปบินบวกกับความฝันที่อยากมีกองการบินครั้งแรกของเมืองไทยทั้ง 2 เส้นเรื่องมีแก่นเดียวกัน คือความฝันที่อยากจะบินระหว่างนั้นก็มีเรื่องราวความรักความสนุกสนานความน่ารักมุมมองบ้านๆ ที่ประจัญหน้ากับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา” “รักสยามเท่าฟ้า”  สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงบิดาแห่งการบินไทยคนกลุ่มนี้ที่กล้าทำฝันให้เป็นจริงบนท้องฟ้าสยาม”

:+: ทุ่มเทเพื่อให้ได้ภาพสมจริง :+:

เพื่อให้ได้ภาพย้อนยุคตรงตามประวัติศาสตร์ ปื้ด ธนิตย์ จิตนุกุล อธิบายรายละเอียดของโปรดักชั่นงานสร้างที่เน้นรายละเอียดดูสมจริงตามประวัติศาสตร์ให้ได้ภาพสมจริงสมกับเป็นหนังวีรบุรุษแห่งการบินไทยในส่วนของสถานที่ถ่ายทำหลักของ “รักสยามเท่าฟ้า” มี 2 แห่ง ปากช่องและนครสวรรค์ โดยทีมงานได้เนรมิต ให้เป็นสนามบินในอดีตยุครัชกาลที่ 6 ขึ้นมาเราเนรมิตพื้นที่ จ.นครสวรรค์ สร้างเป็นสนามบิน สร้างโรงเก็บเครื่องบิน ลานบิน ปักหลักถ่ายทำที่นครสวรรค์มีความสุขมาก เราเริ่มเปิดกล้องที่นั่น เอานักแสดงไปเก็บไว้ 4 เดือนถ่ายทำกันไป

งานออกแบบงานสร้างเราเน้นให้ดูสมจริงสัมผัสได้เสื้อผ้ากำกับศิลป์สถานที่ทุกอย่างเราต้องจินตนาการได้ว่ามันเกิดแบบนั้นจริงได้ความสมจริงนั่นเป็นเหตุที่เราต้องเช่าโลเคชั่นเป็นเดือนๆ และต้องไม่ให้เห็นสิ่งก่อสร้างที่มันจะเป็นสมัยนี้ เช่าพื้นที่ 20-30 ไร่ มันยากมากเวลานี้โชคดี เราพบเขตทหารพื้นที่เหมาะเราก็ไถทำรันเวย์เครื่องบินเองเลยเอารถไถไปไถหลายวันทีมงานฝ่ายศิลป์ เซตเครื่องบินจำลองขึ้นมาเลย รุ่นเบรเกต์ (Breguet) ทั้งรุ่นและแบบสร้างเท่าขนาดเครื่องบินจริงช่วงปีกต่อปีกหัวถึงท้ายทุกอย่างเหมือนจริงแต่ถึงลงทุนใส่เครื่องก็คงไม่กล้าให้ใครขึ้นบินเครื่องแต่งกายโรงเก็บเครื่องบินทั้งหมดเรายึดจากหลักฐานตามประวัติศาสตร์จริงในสมัยนั้น

เราเซ็ตตลาดน้ำขึ้นมา “ตลาดน้ำ” พูดเหมือนหาง่ายแต่จริงๆ หายากมาก เพราะบ้านเมืองสมัยนี้เราอาจจะหาบ้านสักหลังที่ใช้ถ่ายได้แต่รอบด้านใช้ถ่ายไม่ได้เราสร้างเองดีกว่าเลยเซตเลยตลาดน้ำทั้งตลาดแล้วก็สถานที่ใหญ่ๆ อย่างโรงเก็บเครื่องบินสนามบินส่วนบ้านเรือนยุค ร. 6 ที่เป็นบ้านไม้ทั้งหมดเราดัดแปลงตลาดเก่าสุพรรณเราเข้าไปหามุมแล้วเซ็ตบางส่วนเข้าไปเพิ่มเติมร้านที่เป็นแหล่งรวมของดวงกับเพื่อนเพื่อให้ได้ภาพสังคมของนายดวง

ฉากบินโชว์เป็นฉากใหญ่อีกฉากได้รับความร่วมมือจากกองทัพบกกองพันที่นครสวรรค์ แต่เพื่อให้ได้ตามรีเสิร์ชมาเราต้องตัดผ้าเต๊นท์ขึ้นมาเองเลยเราต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจเราสั่งตัดชุดทหารเป็นร้อยชุดสำหรับใช้ถ่าย 2 ฉากใหญ่ที่มีนักแสดงและตัวประกอบสมทบเยอะคือฉากสนามบินที่ลุ่มถ่ายทำกันที่ปากช่องต้องไปเซ็ตกองการบินฉากฝนตกปักตะไคร้แล้วค่อยย้ายมาที่ จ. นครสวรรค์ ส่วนฉากระเบิดเป็นการถ่ายจริงเลย”

เซ็ตสถานที่เพื่อใช้ถ่ายทำนานหลายเดือน ถ่ายได้เฉพาะตอนเช้ากับตอนเย็นเพราะเราอยากได้แสงสวย ช่วงเวลาตี 5 – 10 โมง กับแสงหลังบ่าย 3 – 6 โมงเย็น ยกเว้นฉากภายในบางช่วงเราปลุกทีมงานมาตี 4 ตี 5 เพื่อถ่ายแสงเช้าต้องรีบถ่ายก่อนแสงมันแข็งพอแดดแรงเราก็ค่อยเบรกซึ่งมันก็คุ้มค่า

ทุกอย่างที่ทำมาก็เพราะอยากให้ “รักสยามเท่าฟ้า” เป็นหนัง 1 เรื่องที่พูดถึงเมืองไทยในอดีตที่สวยงามเรายอมทุกอย่างเพื่อให้หนังมันสวยข้อสำคัญมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับท้องฟ้าความฝันการบินความรักความสามัคคี ซึ่งภาพที่ได้มันก็คุ้มค่าตั้งใจไว้ว่าอยากให้เรื่องนี้สวยในทางภาพฝันไว้อยากพาคนดูย้อนไปสมัย ร.6 เห็นเมืองไทยสมัยนั้นเห็นบ้านเมืองเราสมัยก่อนบริสุทธิ์สวยงามน่าอยู่ขนาดไหน ” ปื้ด ธนิตย์ กล่าวปิดท้าย

:+: ถ้าไม่บินจริง ก็ไม่ได้สัมผัสท้องฟ้า :+:

“รักสยามเท่าฟ้า” ถ่ายทำภาพท้องฟ้าสยามประเทศด้วยการบินขึ้นไปถ่ายทำจริงทั้งหมดเพื่อนำภาพทิวทัศน์ความงาม บรรยากาศบ้านเมืองไทยจากมุมมองบนฟากฟ้าให้ผู้ชมได้สัมผัสความงามภูมิประเทศทิวทัศน์ประเทศไทยที่สวยงามเลื่องชื่อไปทั่วโลกและบุคคลสำคัญที่มีส่วนสำคัญในการบินขึ้นไปบันทึกภาพท้องฟ้าและเครื่องบินเพื่อใช้ในการถ่ายทำตลอดทั้งเรื่อง ทอม เคลย์เตอร์  ( Tom Claytor ) นักบินเดี่ยวคนแรกที่ทำสถิติขับเครื่องบินรอบโลก

ปื้ด  ธนิตย์  เล่าถึงทอม เคล์ยเตอร์ ว่า “ทอมประทับใจว่าไม่ค่อยมีหนังพูดเรื่องการรักการบินและอยากจะบินให้ได้อย่าง “รักสยามเท่าฟ้า” เขาจึงยินดีเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการบินทั้งหมดของหนังทำให้เรามั่นใจในความสมจริงของหนังถ่ายทำช็อทท้องฟ้าทั้งหมดในเรื่องนี้เป็นฝีมือการบินของทอมเขาพากล้องเราขึ้นไปถ่าย ท้องฟ้า เมฆ ฉากหลัง ฉากรบ ฉากฝึกบินช่วยเรื่องข้อมูลจริงความถูกต้องเครื่องขึ้นไปอย่างไรนักบินต้องมีมุมมองอย่างไรเหมือนเป็นที่ปรึกษาด้านการบินโรงเก็บเครื่องบินเราก็ยึดจากข้อมูลตามประวัติศาสตร์

“รักสยามเท่าฟ้า” เป็นหนังไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำท้องฟ้าด้วยการบินจริงทั้งหมด เพื่อถ่ายทอดบ้านเมืองไทยในอดีตที่สวยงามร่มเย็นสมความตั้งใจของเราที่จะถ่ายทอดภาพเมืองไทยในอดีตที่สวยงามวิถีชีวิตมุมมองจริงจากน่านฟ้าเมืองไทย” ทอม  เคลย์เตอร์  นักบินเครื่องบินเดี่ยวรอบโลก เชื้อสายอเมริกันที่เป็นที่รู้จักของชาวไทยจากโฆษณาเบียร์สิงห์เมื่อหลายปีก่อน “รักสยามเท่าฟ้า” เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา ไม่มีใครคาดว่า ทอมจะมาเป็นส่วนสำคัญในหนังไทยเรื่องนี้ ทอม เคลยเตอร์ กล่าวถึงความรู้สึกที่มีกับหนังเรื่องนี้ ว่า “ภาษาอังกฤษมีสุภาษิต “ตะวันตกคือตะวันตก ตะวันออก คือ ตะวันออก ไม่มีทางบรรจบกันได้” ผมรู้ว่าคนตะวันตกคิดแตกต่างยังไงกับคนตะวันออก หนังเรื่องนี้เป็นโอกาสที่ดีของผมได้สัมผัสเห็นลึกถึงวัฒนธรรมไทยการเดินทางของผมไม่ใช่แค่ให้ถึงจุดหมาย   แต่เป็นการได้เรียนรู้ในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของคนอื่นๆ ด้วย

หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับความภูมิใจของคนไทยเพราะประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ก่อตั้งกองการบินขึ้นมาคนไทยหลายคนอาจจะไม่รู้ ในเวลานั้นการบินเป็นสิ่งอันตรายมากๆ เพราะเครื่องบินสร้างขึ้นด้วยไม้นักบินกลุ่มแรกจึงเป็นฮีโร่ที่แท้จริงพวกเขาต้องเข้มแข็งทั้งหัวใจและร่างกายได้เข้ามามีส่วนเรื่องนี้ได้เห็นได้สัมผัสเศษเสี้ยวสักเล็กน้อยในชีวิตของเขาเหล่านั้นจึงรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ผมได้มีส่วนร่วม วันที่ไปกองถ่ายวันแรกผมขนลุกตั้งทั้งแขน (หัวเราะ) ผมคิดว่าคุณธนิตย์กำลังทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่มันท้าทายพอๆ กับการบินครั้งแรกเพราะอะไรรู้ไหม  เพราะเขาทำหนังเรื่องนี้ได้ครั้งเดียวเหมือนกับคุณบินครั้งแรกได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

ฉากบินร่อนเลียบแม่น้ำเป็นฉากโปรดชอบที่สุดถึงที่สุดของผมเลยผมบินมาทั่วประเทศไทย ผมรู้ว่าประเทศไทยสวยมากขนาดไหนเราบินกันอยู่ 11 ชั่วโมง ปากช่องนครสวรรค์ อุ้มผาง สุพรรณบุรี ประเทศไทยสวยมากๆ กว่าจะถ่ายเก็บภาพท้องฟ้าสถานที่เหล่านั้นได้มันเป็นช่วงเวลาที่มีอุปสรรคอยู่มากแต่สุดท้ายแล้วก็ออกมาเป็นฉากที่สวยงามในหนังและทำให้หนังเรื่องนี้สมบูรณ์ผมภูมิใจกับฉากเหล่านั้นมาก

อีกเหตุผลหนึ่งที่ผมรักหนังเรื่องนี้ก็เพราะตัวละครที่ศรรามเล่นเป็นแบบ “ฝันให้ไกล ไปให้ถึง” เขาลูกทุ่งมากๆ ( ทอม มีฉายาว่า นักบินลูกทุ่ง )  แต่เพราะเขามีความฝันผมคิดว่าหนังเรื่องนี้กระตุ้นคนหนุ่มสาวของไทยจงเชื่อในพลังความฝันของคุณไม่ใช่แค่การบินแต่กับทุกอย่างทำงานบริษัทเป็นหมอถ้าคุณมีความฝันจงทำความฝันของคุณ “รักสยามเท่าฟ้า” พูดถึงช่วงเวลาที่สวยงามของสยามความรักความสามัคคีสิ่งที่รู้ว่าเป็นไปไม่ได้แต่ก็พยายามเหล่านี้ทำให้การบินครั้งแรกเกิดขึ้นในประเทศสยามได้”

:+: เนื้อเรื่องย่อภาพยนตร์ รักสยามเท่าฟ้า First Flight :+:

ปี พ.ศ.2447 พันตรี หลวงกาจยุทธการ ( ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย ) กลับจากฝึกเรียนการบินจากฝรั่งเศสได้รับมอบหมายให้จัดตั้งกองบินแห่งสยามแม้ขุนนางราชการผู้ทรงอำนาจบางท่านมองเรื่องเครื่องบินเป็นไร้สาระหลวงกาจจึงต้องปรับเปลี่ยนความเชื่อนี้ภารกิจแรกแห่งกองการแห่งสยาม ต้องฝึกนักบินคนสยามขึ้นมาให้ได้ โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ปิแอร์ ปูร์ปอง ( ทอม เคลย์เตอร์ ) ครูฝึกของหลวงกาจ ศิษย์การบินกลุ่มแรกประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตร 4 นาย ร้อยโทรัตน์ ( วุฒิชัย ไหมกัน ),ร้อยเอกอัษฏา ( กฤษณ์ สุวรรณภาพ ),พันตรีทวยเทพ ( ผดุงศักดิ์ กิจจานิชขจร),ร้อยตรีดำเกิง ( กฤษฎา พัชรพิพัฒน์ ) โดยมี พลทหารชั้นประทวนร่วมกองบินเพียง 1 นายคือ พลทหาร ดวง เด็ดฉิมพลี( ศรราม เทพพิทักษ์ ) ลูกชาวนาที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักบิน

เมื่อเครื่องบินจากประเทศฝรั่งแปลกปลอมเข้ามาบนทุ่งนาสยาม
เมื่อเครื่องบินประจัญหน้ากับควายไม่มีอะไรสนุก น่ารัก และต้องใช้ความกล้า ความรัก ความสามัคคีเข้าเผชิญเท่านี้อีกแล้ว
ครั้งแรกที่คนไทยได้ขึ้นไปสัมผัสความงามแห่งฟากฟ้าแผ่นดินตนเองเป็นที่รำลึกกล่าวขานของคนรุ่นหลังจวบจนทุกวันนี้
“รักสยามเท่าฟ้า” 27 ธันวาคม นี้ น่านฟ้าของแผ่นดินสยามจะงดงามกว่าที่เคย

 
จากประวัติศาสตร์สู่แรงบันดาลใจ 

จากประวัติศาสตร์จริงรวมกับแรงบันดาลใจที่แม่เล่าถึงรุ่นปู่ย่าที่เคยตั้งคำถาม “เหล็กจะไปบินบนฟ้าได้ยังไง???” ทำให้ ปื้ด ธนิตย์ จิตนุกูล ผู้กำกับฯ ผูกเป็นเรื่องราว ภาพยนตร์แห่งแรงบันดาลใจ “รักสยามเท่าฟ้า” “เราได้แรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์จริงที่บันทึกไว้ว่า ในบรรดานักบินที่ไปฝึกบินฝรั่งเศส มีนายทหารชั้นประทวนเพียงคนเดียว ที่เหลือเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร และลูกขุนนางหมดเลย เราก็เกิดเป็นแรงบันดาลใจว่า มีนายทหารชั้นประทวนคนหนึ่งได้ขึ้นไปบิน บวกกับความฝันที่อยากมีกองการบินครั้งแรกของเมืองไทยทั้ง 2 เส้นเรื่อง มีแก่นเดียวกัน คือ ความฝันที่อยากจะบินระหว่างนั้นก็มีเรื่องราวความรัก ความสนุกสนาน ความน่ารัก มุมมองบ้านๆ ที่ประจัญหน้ากับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา” “รักสยามเท่าฟ้า” สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงบิดาแห่งการบินไทย คนกลุ่มนี้ที่กล้าทำฝันให้เป็นจริงบนท้องฟ้าสยาม”

  • ข่าวที่น่าสนใจ
  • ข่าวที่เกี่ยวข้อง