ประวัติพระพุทธเจ้า (The Life of Buddha)
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพุทธมามกะ เป็นที่ประจักษ์ ชัดแล้วว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประพฤติพระองค์ เป็นพุทธศาสนิกชนที่ประเสริฐเคารพนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย และทรงเชิดชูพระพุทธเจ้าด้วยการน้อมนำคำสอนของพระองค์มาใช้ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์ของชาวไทยจนทำให้ได้รับคำ สดุดีพระเกียรติคุณจากพสกนิกรชาวไทยว่า ทรงเป็นพระธรรมิกราช (พระราชาผู้ทรงธรรม)
“ประวัติพระพุทธเจ้า” คือ เรื่องราวของ พระพุทธเจ้า นับตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ บำเพ็ญเพียร จนถึงตรัสรู้และเสด็จจาริก ออกแสดงธรรม โปรดสัตว์โลก ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีพุทธศาสนิกชนชาติต่างๆ อาทิ จีน ญี่ปุ่น รวมทั้งชาวยุโรป พยายามทำพระประวัติ ส่วนนี้ออกเผยแพร่ในรูปของการ์ตูน แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ บางเรื่องบางตอนก็มีเนื้อหาขัดแย้งกับคัมภีร์พระไตรปิฎก และอรรถกถาบาลี ซึ่งถือว่าเป็น แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับพระประวัติของพระพุทธเจ้าที่เก่าแก่ ที่สุดของโลก ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจำชาติ น่าจะได้มีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเกี่ยวกับพระประวัติของพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับพระไตรปิฎก และอรรถกถา ออกเผยแพร่เป็นพุทธบูชา อีกทั้งในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ควรที่พสกนิกรชาวไทย จะได้มีสิ่งสำคัญสูงสุดไว้ถวายให้เป็นพระเกียรติยศสืบไป กลุ่มธรรมะการ์ตูนเห็นความสำคัญทั้ง ๒ ประการนี้จึงได้ตกลงร่วมมือกับ บริษัท มีเดียสแตนดาร์ด จำกัด จัดทำโครงการภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง “ประวัติพระพุทธเจ้า” เพื่อนำออกเผยแพร่ โดยมีมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาการ และแปลเป็นภาษา นานาชาติ ๕ ภาษาเป็นอย่างน้อย คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเยอรมัน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
• เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระราชวโรกาสที่จะทรงมี พระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐
• เพื่อเผยแพร่พระประวัติของพระพุทธเจ้า
• เพื่อผลิตสื่อการสอน การเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ทันสมัย และเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ให้กับวัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้องสมุดทั่วประเทศ
• เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และยกระดับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเมืองไทยให้ก้าวไกลไประดับสากล ด้วยภาพยนตร์ การ์ตูน Animation ฝีมือคนไทยซึ่งมีเทคโนโลยีการสร้างภาพแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
• จะได้ภาพยนตร์การ์ตูนประวัติพระพุทธเจ้าAnimationฝีมือคนไทย ถวายเป็นพุทธบูชาและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
• จะได้สื่อการสอนและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ทันสมัยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ได้ทั้งในประเทศและนานาชาติถึง ๕ ภาษา
• จะได้ทำให้ฝีมือคนไทยก้าวไกลสู่ระดับสากล อันจะเป็นประโยชน์ต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของนานาชาติ
โครงการนี้ได้นำเนินงานมาแล้ว ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๖ จนขณะนี้มีความคืบหน้ามากแล้ว โดยกำหนดสิ้นสุดของโครงการคือ เดือนตุลาคม ๒๕๕๐ และคาดว่าจะเผยแพร่สู่สายตาประชาชนในเดือน ธันวาคม ๒๕๕๐
จุดเด่นของภาพยนตร์
• ภาพยนตร์เรื่องนี้แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดำเนินตามพระไตรปิฎก และอรรถกถา คณะผู้สร้างได้คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของตัวละคร ซึ่งต้องเผชิญทั้งสุขและทุกข์ ความสมหวังและความผิดหวัง
• อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า แม้เป็นเรื่องที่คนยุคปัจจุบันรับได้ยาก คณะผู้สร้างก็มิได้มองข้าม และพยายามเสนออย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลสำคัญอย่างพระพุทธเจ้า
• สถานที่สำคัญตามพุทธประวัติ คณะผู้สร้างภาพยนตร์ได้ศึกษาจัดทำ และวางแผนงานอย่างละเอียด จนทำให้ได้ภาพแต่ละภาพที่เนียนนุ่มความละเอียดละไมสวยงาม
• ตัวละครต่างๆ นั้น คณะผู้สร้างได้ศึกษาจินตนาการ ให้ตรงกับรูปแบบของคนในยุคนั้นอย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ให้มีอิสระใน แนว ความคิดอันหลากหลายเพื่อขยายแนวการตลาดก้าวสู่ตลาดสากล
• ภาพโดยรวมของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้กลมกลืนกันทั้งเรื่องบนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยอย่างละเอียด ออกแบบฉากต่างๆ ให้ตาม สภาพสังคม บ้านเมือง แถบชมพูทวีป ครั้งก่อนพุทธกาล และร่วมสมัยพุทธกาล โดยระดมสติปัญญาทั้งจากฝ่ายผู้รู้ทางพระไตรปิฎก และผู้ศึกษาทางด้านภูมิสถาปัตย์ตามสภาพที่เป็นจริงในขณะนั้น แล้วถ่ายทอดให้นักออกแบบสร้างสรรค์ผลงานออกมาเป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่มีความสมบูรณ์ และงดงามอลังการในทุกด้าน และพากย์เสียงโดยศิลปินดาราและผู้มีชื่อเสียง
พุทธประวัติ
• อัญเชิญจุติ
เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี ณ ดินแดนทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย เป็นที่ตั้งของแคว้นสักกะ เมืองหลว งของแคว้นนี้มีชื่อว่า กรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งปกครองโดยพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ศากยะพระนามว่า “พระเจ้าสุทโธทนะ” พระองค์ทรงมีพระมเหสีพระนามว่าพระนางสิริมหามายา ครั้งเมื่อพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีทั้ง ๓๐ ประการ บริบูรณ์ ในชาติที่เป็นพระเวสสันดร ครั้งสิ้นพระชนม์แล้วก็ได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรมีชื่อว่า สันดุสิตเทวราช สถิตอยู่ใน สวรรค์ ชั้นดุสิต (ดุสิตเทวโลก) เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องจุติ ท้าวมหาพรหมและเทพยดาทั้งหลายจึงอาราธนาอัญเชิญ จุติบนโลกมนุษย์ เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมโพธิสัตว์หรือในขณะนั้นทรงเป็นสันดุสิตเทวราช จึงได้ ทรงพิจารณาเลือกมาปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายา
• ทรงพระสุบิน
ในคืนวันที่สันดุสิตเทวราชปฏิสนธิ พระนางสิริมหามายาทรงพระสุบิน เห็นดวงดาวหกเหลี่ยมที่มีแสงสุกสกาว และพญาช้างเผือก ๖ งา ลงจากสุวรรณคีรี (ภูเขาทอง) แล้วขึ้นมายังหิรัญคีรี (ภูเขาเงิน) ที่พระนางประทับอยู่ ชูงวงซึ่งถือดอกบัวขาวเข้ามาภายในกนกวิมานที่ประทักษิณ (เวียนโดยรอบ) พระนาง ๓ รอบ เสมือนหนึ่งเข้าไปสู่ พระครรภ์ของพระนาง
• ประสูติ
เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงมีพระครรภ์ล่วงเข้าเดือนที่ ๑๐ ใกล้จะถึงเวลาประสูติ มีพระทัยปรารภจะเสด็จ กรุงเทวทหะเพื่อไปประสูติพระครรภ์ที่พระราชวังของพระราชบิดาตามธรรมเนียม จึงกราบทูลขอพระบรมราชานุญาต จากพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อพระนางได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว พระนางจึงทรงออกเดินทางในตอนเช้า วันวิสาขปุณณมี (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ คือ วันวิสาขบูชา) พอถึงเวลาใกล้เที่ยงวันก็เสด็จถึงสวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ ระหว่างพระนครทั้งสอง พระนางปรารถนาจะเสด็จประพาสชมสวน ครั้นพอพระนางเสด็จยังต้นสาละ ทรงจับกิ่งสาละ พอพระหัตถ์ถึงกิ่งสาละก็บังเกิดลมกัมมชวาตประชวรพระครรภ์ ข้าราชบริพารทั้งหลายก็ช่วยกันผูกม่านแวดวงภายใต้ ต้นสาละ พระนางทรงประทับยืนหันพระปฤษฎางค์อิงกับต้นสาละ พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละผันพระพักตร์ไปทาง ทิศบูรพา ประสูติพระราชโอรส โดยปราศจากความเจ็บปวดใดๆ พระราชกุมารภายหลังประสูติได้พระราชดำเนินไป ๗ ก้าว โดยมีดอกบัวผุดจากพื้นดินมารองรับพระบาททุกก้าว
• สำเร็จปฐมฌาน
เมื่อพระราชกุมารมีพระชนม์ได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะทรงเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาทำพิธีและตั้ง พระนามให้พระราชโอรสว่า “สิทธัตถะ” จากนั้นทรงคัดเลือกพราหมณ์จาก ๑๐๘ คนให้เหลือ ๘ คน เพื่อให้ทำนาย ลักษณะพราหมณ์ ๗ คน ทำนายว่าถ้าพระราชโอรสอยู่ในเพศฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แต่ถ้าทรงครองเพศ บรรพชิตก็จะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่พราหมณ์อีกคนที่เหลือชื่อ โกณฑัญญะ ทำนายว่า พระราชโอรสจะต้อง ออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ครั้นพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรสได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาก็สิ้นพระชนม์ พระเจ้าสุทโธทนะได้ให้พระนางปชาบดีโคตรมี พระน้องนางของพระนาง สิริมหามายาซึ่งเป็นพระมเหสีอีกพระองค์ของพระเจ้าสุทโธทนะให้ทำหน้าที่เลี้ยงดูพระราชโอรส พระนางทรงดูแล พระราชโอรสดุจพระโอรสของพระนางเอง เจ้าชายสิทธัตถะถึงแม้อยู่ในวัยเด็กก็สามารถประทับนั่งขัดสมาธิเจริญ อานาปานสติกัมมัฏฐาน จนได้ปฐมฌานโดยมิได้สนใจของเล่นเช่นพระกุมารอื่นๆ พระราชบิดารู้สึกไม่สบายพระทัยเมื่อ เห็นอาการของพระกุมารเช่นนั้น
• อภิเษกสมรส
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยมีพระชนมายุได้ ๑๖ ชันษา พระราชบิดาทรงสร้างปราสาทขึ้น ๓ หลังสำหรับ ให้เจ้าชายประทับในฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว จากนั้นพระองค์ก็ทรงสู่ขอ เจ้าหญิงพิมพาหรือยโสธรา พระราชธิดา ในพระเจ้าสุปปพุทธะกับพระนางอมิตาแห่งกรุงเทวทหะมาอภิเษกกับเจ้าชายสิทธัตถะ ในพระราชพิธีอภิเษกสมรสของ พระนางยโสธรา ได้มีการทดลองพละกำลังและสติปัญญาระหว่างเจ้าชายทั้งหลาย ในการประลองครั้งนี้เจ้าชาย สิทธัตถะได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เป็นผู้ที่มีความสามารถเหนือเจ้าชายอื่นๆ ไม่มีผู้ใดเทียบได้ในการใช้กระบี่บนหลังม้า พระองค์ทรงมีความสามารถใน “ลักษาเวทะ” คือสามารถยิงถูกเป้าหมายอย่างแม่นยำโดยใช้ “สิงห์ธนู” ซึ่งไม่ต้อง โก่งธนูให้เชือกตึง และพระนางยโสธราทรงคล้องพวงมาลัยที่พระศอของเจ้าชายสิทธัตถะผู้ได้รับชัยชนะด้วยความ ภูมิพระทัย พิธีอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นหลังจากผ่านข้อแม้ต่างๆ อย่างสมพระเกียรติ และเจ้าชายสิทธัตถะทรงอยู่กับ พระนางยโสธราอย่างมีความสุข จนกระทั่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุ ๒๙ ชันษา พระนางยโสธราก็ทรง พระครรภ์
• เทวทูต ๔
พระเจ้าสุทโธทนะได้จัดให้พระราชกุมารอยู่บนพระราชวังที่ใหญ่โต ปราศจากคนสูงอายุหรือคนป่วยที่นั่น ไม่มีการพูดถึงเรื่องเศร้า ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะเกิดความเบื่อหน่ายในการครองเรือน วันหนึ่งเจ้าชาย สิทธัตถะมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จประพาสอุทยาน ขณะที่ประทับราชรถไประหว่างทางได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ ผมหงอก ถือไม้เท้าเดินสวนมาทำให้ทรงรู้สึกเศร้าสลดหดหู่ วันต่อมาพระองค์ก็เสด็จประพาสอุทยานเป็นครั้งที่ ๒ ครั้งนี้ได้ทอดพระเนตรเห็นคนเจ็บที่ร่างกายเต็มไปด้วยแผลเน่าเปื่อย ร้องครวญครางอยู่ข้างถนน เป็นที่น่าเวทนาและ พระองค์ได้ช่วยพยุงคนเจ็บให้ลุกขึ้น
อีก ๑๕ วันต่อมาเสด็จเลียบพระนครเป็นครั้งที่ ๓ โดยราชรถก็ทอดพระเนตรเห็นคนตายถูกหามไปยังป่าช้า มีญาติเดินร้องรำพันด้วยความอาลัยรัก ครั้นเสด็จออกไปเป็นครั้งที่ ๔ ก็ทรงพบกับนักบวชนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ (ผ้าย้อมฝาด) มีกิริยาน่าเลื่อมใส
• เสด็จหนีบรรพชา
การที่เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ทำให้ทรง ตระหนักว่าทุกคนจะต้องแก่ชราและมีโรคภัยไข้เจ็บมาทำลายความสวยความงาม บั่นทอนพละกำลังและร่างกายทุกคน จะต้องตายในวันใดวันหนึ่งไม่มีผู้ใดสามารถหลีกเลี่ยงได้ อันเป็นความทุกข์กังวลอย่างใหญ่หลวงของมนุษย์เมื่อความ จริงประจักษ์แก่พระองค์ พระองค์ทรงรู้สึกตัดขาดจากความเพลิดเพลินในทางโลกอย่างสิ้นเชิง ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ ที่จะเสด็จออกบวชเพื่อหาหนทางพ้นจากความทุกข์ ทำอย่างไรถึงจะบรรลุอมตธรรม จากวันนั้นเป็นต้นไป พระองค์ ทรงยึดในความคิดนั้นเพียงอย่างเดียว และในคืนวันหนึ่ง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเสด็จออกจากพระราชวัง โดย พระองค์เสด็จเยี่ยมพระนางยโสธรากับพระราชโอรสซึ่งกำลังบรรทมหลับอยู่ แม้จะทรงอาลัยแต่ก็หักพระทัยทิ้ง พระนางยโสธราและพระราชโอรสที่เพิ่งประสูติใหม่ชื่อ ราหุล ไว้เบื้องหลัง เสด็จออกมาทรงม้ากัณฐกะ หนีออกจาก พระนครพร้อมกับนายฉันนะ
• ทรงตัดพระโมฬี
เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะมาจนกระทั่งใกล้รุ่ง ก็เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมาจึงเสด็จลงจากหลังม้า ทรงใช้ พระขรรค์ตัดพระโมฬี (จุก) ออกเหลือเส้นพระเกศายาวประมาณ ๒ องคุลี (๑ องคุลีจะเท่ากับข้อปลายของนิ้วกลาง) ม้วนไปทางขวาเป็นวงกลมซึ่งพระเกศาไม่มีการยาวออกมาอีกจนกระทั่งพระองค์ปรินิพพานแล้วเปลี่ยน ฉลองพระองค์ เป็นนักบวช จากนั้นทรงอธิษฐานขอบรรพชาเป็นนักบวช จากนั้นพระองค์ทรงรับสั่งให้นายฉันนะนำม้ากัณฐกะและ ฉลองพระองค์เดิมของพระองค์กลับพระนคร เพื่อไปถวายพระเจ้าสุทโธทนะที่พระราชวัง
• บำเพ็ญทุกรกิริยา
ส่วนเจ้าชายสิทธัตถะนั้นเพื่อค้นหนทางแห่งความดับทุกข์ พระองค์จึงเสด็จไปยังแคว้นมคธเพื่อไปขอเป็นศิษย์ ในสำนักอาฬารดาบส เมื่อศึกษาจนจบสิ้นความรู้แต่ทรงเห็นว่ายังไม่ใช่ทางที่จะทำให้พระองค์พ้นทุกข์ จึงลาอาจารย์ไป ศึกษาต่อในสำนักอุทกดาบส แต่วิชาของสำนักนี้ก็ไม่สามารถทำให้พระองค์พ้นจากทุกข์ได้เช่นกัน จึงลาอาจารย์แล้วเสด็จ ต่อไปจนถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พระองค์ดำริว่า ความรู้ที่เกิดจากตำราวิชาต่างๆ ไม่อาจทำให้พ้นจากทุกข์ได้ พระองค์จึงตัดสินพระทัยประทับที่อุรุเวลาเสนานิคมเพื่อบำเพ็ญเพียรให้ตรัสรู้ธรรมด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็น การทรมานพระวรกายให้ได้รับความลำบาก โดยมีพราหมณ์ ๕ คน คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ รวมเรียกว่า ปัญจวัคคีย์ มาคอยปรนนิบัติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงทรมานพระองค์ด้วยวีต่างๆ เมื่อไม่ได้ผล ก็ทรงเปลี่ยนวีใหม่ จนในที่สุดทรงอดพระกระยาหารจนพระวรกายซูบผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ได้รับความทุกข์ ทรมานแสนสาหัส รวมเวลาที่ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยานานถึง ๖ ปี ก็มิได้บรรลุผล
• มัชฌิมาปฏิปทา
เจ้าชายสิทธัตถะทรงท้อพระทัย เพราะไม่ทรงทราบว่าจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้ตรัสรู้ ขณะนั้นพระอินทร์ได้ เสด็จลงมาดีดพิณถวาย สายพิณสายที่หนึ่งขึงไว้ตึงเกินไปพอดีดก็ขาด สายที่สองหย่อนเกินไปเสียงที่ออกมาก็ไม่เพราะ ส่วนสายที่สามขึงไว้พอดี ไม่ให้ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไปเสียงจึงไพเราะน่าฟัง พระองค์ได้สดับและพิจารณาเห็นว่า การปฏิบัติทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา จะเป็นหนทางที่สามารถบรรลุพระโพธิญาณได้ พระองค์จึงทรงเลิกการ บำเพ็ญทุกกรกิริยา กลับมาเสวยพระกระยาหารบำรุงร่างกายให้แข็งแรงดังเดิมเพื่อที่จะทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป เหล่าปัญจวัคคีย์เห็นดังนั้นก็คิดว่าพระองค์หมดความเพียร จึงพากันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
• สุชาดาถวายข้าวมธุปายาส
หลังจากที่พระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยาได้ครึ่งเดือนก็ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เช้าวันนั้น นางสุชาดา ได้หุงข้าวมธุปายาส (ข้าวหุงด้วยน้ำนมโค) เพื่อนำไปถวายเทวดาที่ต้นไทร เนื่องจากนางได้บนบานต่อต้นไทรว่า หากเทวดาประทานพรให้นางมีลูกชาย นางจะนำข้าวมธุปายาสมาถวาย เมื่อสำเร็จตามปารถนานางจึงนำข้าวมธุปายาส มาถวายตามที่ได้ให้คำสัญญาไว้ ครั้นพอไปถึงต้นไทรนางเห็นเจ้าชายสิทธัตถะประทับใต้ต้นไทร นึกว่าพระองค์เป็น เทวดาซึ่งสิงสถิตอยู่ในต้นไทรได้ปรากฏกายให้เห็น นางจึงน้อมถวายข้าวมธุปายาสพร้อมกับถาดทองคำด้วยความเคารพ เมื่อเสวยข้าวมธุปายาสหมดแล้ว พระองค์นำถาดทองคำที่ใส่ข้าวมธุปายาสไปที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราทรงอธิษฐานว่า ถ้าพระองค์ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดลอยวนกระแสน้ำขึ้นไป แล้วถาดก็ลอยวนกระแสน้ำไปไกล ๘๐ ศอก จมลงสู่ก้นแม่น้ำซึ่ง เป็นที่อยู่ของพระยากาฬนาคราช จากนั้นพระองค์ก็ทอดพระเนตรเห็น โสตถิยพราหมณ์หอบหญ้าคาเดินไปทรง บิณฑบาตหญ้าคาจากพราหมณ์ และพราหมณ์ได้ถวายหญ้าคาแก่พระองค์ด้วยความเคารพ
• ผจญมาร
เจ้าชายสิทธัตถะทรงปูหญ้าคาแล้วอธิษฐานเป็นรัตนบัลลังค์ประทับนั่งหันพระพักตร์สู่ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) พระปฤษฎางค์ (หลัง) สู่ลำต้นศรีมหาโพธิ์ ขัดสมาธิตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติตั้งมั่นแล้วทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้ายังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณจะไม่ลุกนี้เป็นอันขาด แม้เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกก็ตาม จากนั้น ก็ทรงกำหนดจิตเจริญสมาธิภาวนา พระยาวัสสวดีมารซึ่งคอยติดตามเจ้าชายสิทธัตถะอยู่เกรงว่า ถ้าพระองค์ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจะพ้นจากอำนาจของตน จึงขี่ช้างชื่อ ศิริเมขล์นำเหล่าเสนามารเข้าไปแสดงฤทธิ์ต่างๆ ขัดขวาง แต่พระองค์ก็ยังประทับนิ่งไม่ทรงหวั่นไหว พระยามารโกรธมากให้เสนามารรุมเข้าไปฆ่าเจ้าชายสิทธัตถะ แต่ พระองค์ทรงนึกถึงพระบารมี ๓๐ ประการที่ทรงบำเพ็ญสั่งสมมาทุกชาติ และพระองค์จะสู้กับมารด้วยบารมีเหล่านี้ จึง ขอให้นางวสุนธราแม่พระธรณีเป็นพยานในการบำเพ็ญบารมี นางจึงบันดาลรูปเป็นนารีผุดขึ้นมาจากพื้นดิน และบิดมวย ผมให้น้ำหลั่งออกมาเท่ากับบารมีทีพระองค์ทรงบำเพ็ญเพียรสั่งสมออกมา น้ำที่หลั่งออกมามีปริมาณมากมายเหลือคณา นับท่วมท้นไปทั่วบริเวณ กระแสน้ำได้พัดพาพวกเสนามารไปจนหมดสิ้น แม้กระทั่งช้างศิริเมขล์ก็มิอาจยืนอยู่ได้ จนกระทั่ง พยามารพ่ายแพ้ ยกหัตถ์นมัสการกล่าวสรรเสริญแล้วลากลับไปยังที่อยู่ของตน พระองค์ทรงมีชัยเหนือเหล่า มารอย่างแท้จริง
• ตรัสรู้
เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญเพียรเจริญสมาธิภาวนาต่อไปจนถึงยามสามซึ่งเป็นเวลาใกล้รุ่ง ก็ตรัสรู้อริยสัจ ๔ (ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ ชันษา
• ปฐมเทศนา
ภายหลังตรัสรู้แล้ว พระองค์ประทับเสวย วิมุตติสุข (ความสุขที่เกิดจากความหลุดพ้นจากกิเลส) อยู่ใต้ร่มศรี มหาโพธิ์และบริเวณใกล้เคียงเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๑-๔ พระพุทธองค์เสวยวิมุตติและทบทวนสิ่งที่ได้ตรัสรู้ ในสัปดาห์ที่ ๕ ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับใต้ต้นไทร นางตัณหา นางราคา และนางอรดี ซึ่งเป็นธิดา ของพระยาวัสสวดีมารอาสาพระบิดามาทำลายตบะของพระพุทธองค์ ด้วยการรำฟ้อนยั่วยวนต่างๆ นานา แต่พระองค์ มิได้สนพระทัย นางทั้งสามจึงกลับไปด้วยความผิดหวัง หลังจากที่เสวยวิมตติสุขครบ ๗ สัปดาห์ พระองค์ ทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรม เนื่องจากธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้น ยากแก่การที่มนุษย์ที่มีกิเลสจะเข้าใจได้ ท้าวมหาพรหมจึงเสด็จลงมาเตือนพระสติ และทูลอารธนาให้ตรัสเทศนาโปรดสัตว์โลกทั้งปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม จากนั้นพระองค์ก็เสด็จไปยังแคว้นพาราณสี เพื่อไปโปรดปัญจวัคคีย์ พระองค์ แสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรกคือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตรใน วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ ขณะที่พระองค์ทรงเทศนา หนทางที่จะบรรลุธรรมนั้น ท่านโกณฑัญญะก็ได้ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) สำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปแรก และได้ นามใหม่ว่าอัญญาโกณฑัญญะ และในวันนั้นท่านโกณฑัญญะก็ทูลขออุปสมบท เป็นภิกษุที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตด้วย พระวาจาซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุ ดังนั้นท่านอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นพระสงฆ์รูปแรกของโลก และในวันนี้เองเป็น วันที่ศาสนาครบองค์พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็เทศนาต่ออีกจน ปัญจวัคคีย์อีก ๔ ท่านได้บรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นสาวกกลุ่มแรกของพระพุทธศาสนา
• อริยสัจ ๔
พระพุทธองค์ทรงเทศนาธรรมครั้งแรกที่ “สารนาถ” ใกล้แคว้นกาสี และหลักธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ดังนี้
๑. อะไร คือ ความทุกข์
๒. อะไร คือ สาเหตุให้เกิดความทุกข์
๓. อะไร คือ ความดับทุกข์
๔. อะไร คือ ทางที่นำไปสู่การดับทุกข์
พระองค์ทรงแสดงมรรคประกอบไปด้วยองค์ ๘ อันเป็นลักษณะ ธรรมชั้นสูงขึ้นไป ที่เรียกว่า “อริยอัฎธังคิกะ” ประกอบด้วย
๑. ความเห็นชอบ
๒. ความดำริชอบ
๓. การเจรจาชอบ
๔. การกระทำชอบ
๕. การเลี้ยงชีพชอบ
๖. ความพยายามชอบ
๗. ความระลึกชอบ
๘. ความตั้งจิตมั่นชอบ
• ประกาศพระศาสนา
ในทุกแห่งหนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จโปรด พระองค์ทรงเทศนาพระธรรมคำสอน ให้แก่ผู้คนมากมาย และผู้คนเหล่านั้นยอมรับนับถือในคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บ้างก็สำเร็จอรหันต์บวชเป็นภิกษุ บ้างก็บรรลุ โสดาบันเห็นธรรม วันหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดพราหมณ์ที่ชื่อ อุรุเวลกัสสปะ พระองค์ประทับใน สถานที่บูชาไฟ ซึ่งมีพญานาค (งูพิษ) ของพราหมณ์กัสสปะอาศัยอยู่มีชื่อว่า “อัคนิศาลา” ครั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่นั้นพระยานาคเลื้อยออกมาและปรี่เข้าหาพระองค์อย่างรวดเร็วหมายจะทำร้าย แต่พยานาคไม่สามารถ ทำร้ายพระองค์ได้ พระองค์จึงทรงทรมานพระยานาคจนกระทั่งสงบลง และเข้าไปนอนอยู่ในบาตรของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าครั้งหนึ่งได้เกิดไฟไหม้ใหญ่ในเมืองคยา ไฟได้ลุกลามไปทั่วจนกระทั่งถึงภูเขา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส กับสาวกของพระองค์ว่า“ทั่วโลกกำลังถูกเผาไหม้ด้วยไฟ ไฟนั้นคือ ความอิจฉาริษยาและความเศร้าโศกเสียใจ บุคคลผู้มี ปัญญาเท่านั้นที่เริ่มต้นแสวงสัจธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นด้วยตนเอง เพื่อดับไฟที่เผาผลาญให้ใจรุ่มร้อนอย่างนี้
• โปรดพระเจ้าพิมพิสาร
จากเนินเขาของเมืองคยา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระราชดำเนินไปยังเมืองราชคฤห์ เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร ทรงทราบข่าวการเสด็จมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปต้อนรับ พร้อมด้วยพระราชินีและพระราชโอรสตลอดจน ข้าราชบริพารเมื่อได้สดับฟังระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกาลต่อมาก็ได้เป็น สาวกในพระศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวัน (สวนไผ่) ให้เป็นที่ประทับของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระภิกษุทั้งหลาย เวฬุวันมหาวิหาร จึงนับได้ว่าเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ขณะนั้น มีพระอรหันต์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป อยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร เป็นวันเพ็ญเดือน ๓ (วันมาฆะ) พระสงฆ์ทั้ง ๑,๒๕๐ รูปจึงเข้าเฝ้าพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเพื่อให้พระองค์ทรงแดสงธรรม ซึ่งการประชุมของพระสงฆ์ในครั้งนี้เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต หมายถึง การประชุมที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการคือ มีพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาชุมนุมกันโดย มิได้นัดหมาย พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ และเป็นวันเพ็ญเดือนสาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นโอกาสพิเศษ จึงแสดงพระธรรมโอวาทปาติโมกข์อันเป็นหลักของศาสนาคือ ละเว้นความชั่ว ทั้งปวง ทำความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
• โปรดพุทธบิดา
เมื่อพระเจ้าสุทโทธนะมหาราชพุทธบิดา สดับข่าวว่าพระราชโอรสได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเที่ยว ประกาศพระศาสนา ได้ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ปรารถนาจะได้พบเห็นพระพุทธองค์ จึงตรัสให้อำมาตย์ พร้อมกับบริวารหนึ่งพันไปเชิญเสด็จ แต่อำมาตย์และบริวารได้ฟังเทศน์ ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์และทูลขอบวชหมด ทุกคน จากนั้นจึงทูลเชิญเสด็จยังกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา กับพระประยูรญาติ ทำให้พระเจ้าสุทโธทนะได้ดวงตาเห็นธรรม
• โปรดพระนางยโสธรา-พระนันทะ
จากนั้นพระเจ้าสุทโธทนะทรงอาราธนาให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จโปรดพระนางยโสธรา เมื่อพระสัมมา สัมพุทธเจ้า เสด็จถึงก็ทรงปลอบโยนและแสดงธรรมเทศนาโปรด จนพระนางยโสธรารู้สึกปิติยินดีหมดความเศร้าโศรก ได้ดวงตาเห็นธรรมในขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับในกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์เสด็จร่วมพิธีอภิเษกสมรสของ พระนันทะ พระอนุชาที่เกิดแต่พระนางปชาบดีโคตรมีกับพระเจ้าสุทโธทนะ หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวย พระกระยาหารแล้วก็ส่งบาตรให้พระนันทะแล้วเสด็จออกจากปราสาท พระนันทะจำต้องอุ้มบาตรเดินตามเสด็จเพราะ เกรงพระทัยไม่กล้าทูลให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับบาตรคืน จนกระทั่งถึงนิโครธารามหาวิหารอันเป็นที่ประทับจำวัด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รับสั่งให้ พระนันทะบรรพชาแล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้
• ราหุลบรรพชา
หลายวันต่อมา พระนางยโสธราตรัสให้ราหุลกุมารพระราชโอรสไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทูลขอ พระราชสมบัติจากพระราชบิดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดำริว่าสมบัติมีค่าใดๆ ก็ไม่ยั่งยืนถาวรเท่ากับโลกุตตรสมบัติ เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐคือ พระนิพพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสบอกให้พระราหุลตามเสด็จพระองค์ไป แล้วจึง รับสั่งให้พระสารีบุตรบรรพชาให้พระราหุลเป็นสามเณร ซึ่งนับว่าเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทะศาสนา
• อิทธิปาฏิหาริย์
บุคคลบางจำพวกเกิดทิฐิมานะไม่เลื่อมใสในพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้บุคคลเหล่า นั้นคลายทิฐิลง พระพุทะองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ให้ผู้ที่ความเห็นไม่ถูกต้องเหล่านั้นได้เห็น ดังเช่นครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยมะม่วงสุกแล้วปลูกเมล็ดในพื้นดินล้างพระหัตถ์ลงที่เมล็ดมะม่วง หน่อมะม่วง ก็เติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปในพริบตาออกผลเต็มต้น เป็นต้นครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับในป่าห่าง จากบริเวณที่พระสาวกอยู่ ได้มีช้างเชือกหนึ่งและลิงตัวหนึ่ง คอยปรนนิบัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการถวายผลไม้ ดอกไม้ และน้ำผึ้ง
• โปรดองคุลีมาล
ที่เมืองสาวัตถี มีมหาโจรผู้หนึ่งนามว่า องคุลีมาล ต้องการที่จะร้อยพวงมาลัยด้วยนิ้วมือ โดยการฆ่าคน ให้ได้ครบหนึ่งพันคน เขาได้ทำการฆ่าผู้คนไปแล้วเป
ประวัติพระพุทธเจ้า (The Life of Buddha)
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพุทธมามกะ เป็นที่ประจักษ์ ชัดแล้วว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประพฤติพระองค์ เป็นพุทธศาสนิกชนที่ประเสริฐเคารพนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย และทรงเชิดชูพระพุทธเจ้าด้วยการน้อมนำคำสอนของพระองค์มาใช้ในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์ของชาวไทยจนทำให้ได้รับคำ สดุดีพระเกียรติคุณจากพสกนิกรชาวไทยว่า ทรงเป็นพระธรรมิกราช (พระราชาผู้ทรงธรรม)
“ประวัติพระพุทธเจ้า” คือ เรื่องราวของ พระพุทธเจ้า นับตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ บำเพ็ญเพียร จนถึงตรัสรู้และเสด็จจาริก ออกแสดงธรรม โปรดสัตว์โลก ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีพุทธศาสนิกชนชาติต่างๆ อาทิ จีน ญี่ปุ่น รวมทั้งชาวยุโรป พยายามทำพระประวัติ ส่วนนี้ออกเผยแพร่ในรูปของการ์ตูน แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ บางเรื่องบางตอนก็มีเนื้อหาขัดแย้งกับคัมภีร์พระไตรปิฎก และอรรถกถาบาลี ซึ่งถือว่าเป็น แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับพระประวัติของพระพุทธเจ้าที่เก่าแก่ ที่สุดของโลก ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจำชาติ น่าจะได้มีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเกี่ยวกับพระประวัติของพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับพระไตรปิฎก และอรรถกถา ออกเผยแพร่เป็นพุทธบูชา อีกทั้งในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ควรที่พสกนิกรชาวไทย จะได้มีสิ่งสำคัญสูงสุดไว้ถวายให้เป็นพระเกียรติยศสืบไป กลุ่มธรรมะการ์ตูนเห็นความสำคัญทั้ง ๒ ประการนี้จึงได้ตกลงร่วมมือกับ บริษัท มีเดียสแตนดาร์ด จำกัด จัดทำโครงการภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง “ประวัติพระพุทธเจ้า” เพื่อนำออกเผยแพร่ โดยมีมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาการ และแปลเป็นภาษา นานาชาติ ๕ ภาษาเป็นอย่างน้อย คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเยอรมัน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
• เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระราชวโรกาสที่จะทรงมี พระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐
• เพื่อเผยแพร่พระประวัติของพระพุทธเจ้า
• เพื่อผลิตสื่อการสอน การเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ทันสมัย และเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ให้กับวัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย ห้องสมุดทั่วประเทศ
• เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และยกระดับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเมืองไทยให้ก้าวไกลไประดับสากล ด้วยภาพยนตร์ การ์ตูน Animation ฝีมือคนไทยซึ่งมีเทคโนโลยีการสร้างภาพแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
• จะได้ภาพยนตร์การ์ตูนประวัติพระพุทธเจ้าAnimationฝีมือคนไทย ถวายเป็นพุทธบูชาและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
• จะได้สื่อการสอนและการเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ทันสมัยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ได้ทั้งในประเทศและนานาชาติถึง ๕ ภาษา
• จะได้ทำให้ฝีมือคนไทยก้าวไกลสู่ระดับสากล อันจะเป็นประโยชน์ต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของนานาชาติ
โครงการนี้ได้นำเนินงานมาแล้ว ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๔๖ จนขณะนี้มีความคืบหน้ามากแล้ว โดยกำหนดสิ้นสุดของโครงการคือ เดือนตุลาคม ๒๕๕๐ และคาดว่าจะเผยแพร่สู่สายตาประชาชนในเดือน ธันวาคม ๒๕๕๐
จุดเด่นของภาพยนตร์
• ภาพยนตร์เรื่องนี้แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดำเนินตามพระไตรปิฎก และอรรถกถา คณะผู้สร้างได้คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของตัวละคร ซึ่งต้องเผชิญทั้งสุขและทุกข์ ความสมหวังและความผิดหวัง
• อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า แม้เป็นเรื่องที่คนยุคปัจจุบันรับได้ยาก คณะผู้สร้างก็มิได้มองข้าม และพยายามเสนออย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลสำคัญอย่างพระพุทธเจ้า
• สถานที่สำคัญตามพุทธประวัติ คณะผู้สร้างภาพยนตร์ได้ศึกษาจัดทำ และวางแผนงานอย่างละเอียด จนทำให้ได้ภาพแต่ละภาพที่เนียนนุ่มความละเอียดละไมสวยงาม
• ตัวละครต่างๆ นั้น คณะผู้สร้างได้ศึกษาจินตนาการ ให้ตรงกับรูปแบบของคนในยุคนั้นอย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ให้มีอิสระใน แนว ความคิดอันหลากหลายเพื่อขยายแนวการตลาดก้าวสู่ตลาดสากล
• ภาพโดยรวมของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้กลมกลืนกันทั้งเรื่องบนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยอย่างละเอียด ออกแบบฉากต่างๆ ให้ตาม สภาพสังคม บ้านเมือง แถบชมพูทวีป ครั้งก่อนพุทธกาล และร่วมสมัยพุทธกาล โดยระดมสติปัญญาทั้งจากฝ่ายผู้รู้ทางพระไตรปิฎก และผู้ศึกษาทางด้านภูมิสถาปัตย์ตามสภาพที่เป็นจริงในขณะนั้น แล้วถ่ายทอดให้นักออกแบบสร้างสรรค์ผลงานออกมาเป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่มีความสมบูรณ์ และงดงามอลังการในทุกด้าน และพากย์เสียงโดยศิลปินดาราและผู้มีชื่อเสียง
พุทธประวัติ
• อัญเชิญจุติ
เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี ณ ดินแดนทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย เป็นที่ตั้งของแคว้นสักกะ เมืองหลว งของแคว้นนี้มีชื่อว่า กรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งปกครองโดยพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ศากยะพระนามว่า “พระเจ้าสุทโธทนะ” พระองค์ทรงมีพระมเหสีพระนามว่าพระนางสิริมหามายา ครั้งเมื่อพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีทั้ง ๓๐ ประการ บริบูรณ์ ในชาติที่เป็นพระเวสสันดร ครั้งสิ้นพระชนม์แล้วก็ได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรมีชื่อว่า สันดุสิตเทวราช สถิตอยู่ใน สวรรค์ ชั้นดุสิต (ดุสิตเทวโลก) เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องจุติ ท้าวมหาพรหมและเทพยดาทั้งหลายจึงอาราธนาอัญเชิญ จุติบนโลกมนุษย์ เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมโพธิสัตว์หรือในขณะนั้นทรงเป็นสันดุสิตเทวราช จึงได้ ทรงพิจารณาเลือกมาปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายา
• ทรงพระสุบิน
ในคืนวันที่สันดุสิตเทวราชปฏิสนธิ พระนางสิริมหามายาทรงพระสุบิน เห็นดวงดาวหกเหลี่ยมที่มีแสงสุกสกาว และพญาช้างเผือก ๖ งา ลงจากสุวรรณคีรี (ภูเขาทอง) แล้วขึ้นมายังหิรัญคีรี (ภูเขาเงิน) ที่พระนางประทับอยู่ ชูงวงซึ่งถือดอกบัวขาวเข้ามาภายในกนกวิมานที่ประทักษิณ (เวียนโดยรอบ) พระนาง ๓ รอบ เสมือนหนึ่งเข้าไปสู่ พระครรภ์ของพระนาง
• ประสูติ
เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงมีพระครรภ์ล่วงเข้าเดือนที่ ๑๐ ใกล้จะถึงเวลาประสูติ มีพระทัยปรารภจะเสด็จ กรุงเทวทหะเพื่อไปประสูติพระครรภ์ที่พระราชวังของพระราชบิดาตามธรรมเนียม จึงกราบทูลขอพระบรมราชานุญาต จากพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อพระนางได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว พระนางจึงทรงออกเดินทางในตอนเช้า วันวิสาขปุณณมี (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ คือ วันวิสาขบูชา) พอถึงเวลาใกล้เที่ยงวันก็เสด็จถึงสวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ ระหว่างพระนครทั้งสอง พระนางปรารถนาจะเสด็จประพาสชมสวน ครั้นพอพระนางเสด็จยังต้นสาละ ทรงจับกิ่งสาละ พอพระหัตถ์ถึงกิ่งสาละก็บังเกิดลมกัมมชวาตประชวรพระครรภ์ ข้าราชบริพารทั้งหลายก็ช่วยกันผูกม่านแวดวงภายใต้ ต้นสาละ พระนางทรงประทับยืนหันพระปฤษฎางค์อิงกับต้นสาละ พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละผันพระพักตร์ไปทาง ทิศบูรพา ประสูติพระราชโอรส โดยปราศจากความเจ็บปวดใดๆ พระราชกุมารภายหลังประสูติได้พระราชดำเนินไป ๗ ก้าว โดยมีดอกบัวผุดจากพื้นดินมารองรับพระบาททุกก้าว
• สำเร็จปฐมฌาน
เมื่อพระราชกุมารมีพระชนม์ได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะทรงเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาทำพิธีและตั้ง พระนามให้พระราชโอรสว่า “สิทธัตถะ” จากนั้นทรงคัดเลือกพราหมณ์จาก ๑๐๘ คนให้เหลือ ๘ คน เพื่อให้ทำนาย ลักษณะพราหมณ์ ๗ คน ทำนายว่าถ้าพระราชโอรสอยู่ในเพศฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แต่ถ้าทรงครองเพศ บรรพชิตก็จะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่พราหมณ์อีกคนที่เหลือชื่อ โกณฑัญญะ ทำนายว่า พระราชโอรสจะต้อง ออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ครั้นพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรสได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาก็สิ้นพระชนม์ พระเจ้าสุทโธทนะได้ให้พระนางปชาบดีโคตรมี พระน้องนางของพระนาง สิริมหามายาซึ่งเป็นพระมเหสีอีกพระองค์ของพระเจ้าสุทโธทนะให้ทำหน้าที่เลี้ยงดูพระราชโอรส พระนางทรงดูแล พระราชโอรสดุจพระโอรสของพระนางเอง เจ้าชายสิทธัตถะถึงแม้อยู่ในวัยเด็กก็สามารถประทับนั่งขัดสมาธิเจริญ อานาปานสติกัมมัฏฐาน จนได้ปฐมฌานโดยมิได้สนใจของเล่นเช่นพระกุมารอื่นๆ พระราชบิดารู้สึกไม่สบายพระทัยเมื่อ เห็นอาการของพระกุมารเช่นนั้น
• อภิเษกสมรส
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเจริญวัยมีพระชนมายุได้ ๑๖ ชันษา พระราชบิดาทรงสร้างปราสาทขึ้น ๓ หลังสำหรับ ให้เจ้าชายประทับในฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว จากนั้นพระองค์ก็ทรงสู่ขอ เจ้าหญิงพิมพาหรือยโสธรา พระราชธิดา ในพระเจ้าสุปปพุทธะกับพระนางอมิตาแห่งกรุงเทวทหะมาอภิเษกกับเจ้าชายสิทธัตถะ ในพระราชพิธีอภิเษกสมรสของ พระนางยโสธรา ได้มีการทดลองพละกำลังและสติปัญญาระหว่างเจ้าชายทั้งหลาย ในการประลองครั้งนี้เจ้าชาย สิทธัตถะได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เป็นผู้ที่มีความสามารถเหนือเจ้าชายอื่นๆ ไม่มีผู้ใดเทียบได้ในการใช้กระบี่บนหลังม้า พระองค์ทรงมีความสามารถใน “ลักษาเวทะ” คือสามารถยิงถูกเป้าหมายอย่างแม่นยำโดยใช้ “สิงห์ธนู” ซึ่งไม่ต้อง โก่งธนูให้เชือกตึง และพระนางยโสธราทรงคล้องพวงมาลัยที่พระศอของเจ้าชายสิทธัตถะผู้ได้รับชัยชนะด้วยความ ภูมิพระทัย พิธีอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นหลังจากผ่านข้อแม้ต่างๆ อย่างสมพระเกียรติ และเจ้าชายสิทธัตถะทรงอยู่กับ พระนางยโสธราอย่างมีความสุข จนกระทั่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุ ๒๙ ชันษา พระนางยโสธราก็ทรง พระครรภ์
• เทวทูต ๔
พระเจ้าสุทโธทนะได้จัดให้พระราชกุมารอยู่บนพระราชวังที่ใหญ่โต ปราศจากคนสูงอายุหรือคนป่วยที่นั่น ไม่มีการพูดถึงเรื่องเศร้า ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะเกิดความเบื่อหน่ายในการครองเรือน วันหนึ่งเจ้าชาย สิทธัตถะมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จประพาสอุทยาน ขณะที่ประทับราชรถไประหว่างทางได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ ผมหงอก ถือไม้เท้าเดินสวนมาทำให้ทรงรู้สึกเศร้าสลดหดหู่ วันต่อมาพระองค์ก็เสด็จประพาสอุทยานเป็นครั้งที่ ๒ ครั้งนี้ได้ทอดพระเนตรเห็นคนเจ็บที่ร่างกายเต็มไปด้วยแผลเน่าเปื่อย ร้องครวญครางอยู่ข้างถนน เป็นที่น่าเวทนาและ พระองค์ได้ช่วยพยุงคนเจ็บให้ลุกขึ้น
อีก ๑๕ วันต่อมาเสด็จเลียบพระนครเป็นครั้งที่ ๓ โดยราชรถก็ทอดพระเนตรเห็นคนตายถูกหามไปยังป่าช้า มีญาติเดินร้องรำพันด้วยความอาลัยรัก ครั้นเสด็จออกไปเป็นครั้งที่ ๔ ก็ทรงพบกับนักบวชนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ (ผ้าย้อมฝาด) มีกิริยาน่าเลื่อมใส
• เสด็จหนีบรรพชา
การที่เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ทำให้ทรง ตระหนักว่าทุกคนจะต้องแก่ชราและมีโรคภัยไข้เจ็บมาทำลายความสวยความงาม บั่นทอนพละกำลังและร่างกายทุกคน จะต้องตายในวันใดวันหนึ่งไม่มีผู้ใดสามารถหลีกเลี่ยงได้ อันเป็นความทุกข์กังวลอย่างใหญ่หลวงของมนุษย์เมื่อความ จริงประจักษ์แก่พระองค์ พระองค์ทรงรู้สึกตัดขาดจากความเพลิดเพลินในทางโลกอย่างสิ้นเชิง ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ ที่จะเสด็จออกบวชเพื่อหาหนทางพ้นจากความทุกข์ ทำอย่างไรถึงจะบรรลุอมตธรรม จากวันนั้นเป็นต้นไป พระองค์ ทรงยึดในความคิดนั้นเพียงอย่างเดียว และในคืนวันหนึ่ง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเสด็จออกจากพระราชวัง โดย พระองค์เสด็จเยี่ยมพระนางยโสธรากับพระราชโอรสซึ่งกำลังบรรทมหลับอยู่ แม้จะทรงอาลัยแต่ก็หักพระทัยทิ้ง พระนางยโสธราและพระราชโอรสที่เพิ่งประสูติใหม่ชื่อ ราหุล ไว้เบื้องหลัง เสด็จออกมาทรงม้ากัณฐกะ หนีออกจาก พระนครพร้อมกับนายฉันนะ
• ทรงตัดพระโมฬี
เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะมาจนกระทั่งใกล้รุ่ง ก็เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมาจึงเสด็จลงจากหลังม้า ทรงใช้ พระขรรค์ตัดพระโมฬี (จุก) ออกเหลือเส้นพระเกศายาวประมาณ ๒ องคุลี (๑ องคุลีจะเท่ากับข้อปลายของนิ้วกลาง) ม้วนไปทางขวาเป็นวงกลมซึ่งพระเกศาไม่มีการยาวออกมาอีกจนกระทั่งพระองค์ปรินิพพานแล้วเปลี่ยน ฉลองพระองค์ เป็นนักบวช จากนั้นทรงอธิษฐานขอบรรพชาเป็นนักบวช จากนั้นพระองค์ทรงรับสั่งให้นายฉันนะนำม้ากัณฐกะและ ฉลองพระองค์เดิมของพระองค์กลับพระนคร เพื่อไปถวายพระเจ้าสุทโธทนะที่พระราชวัง
• บำเพ็ญทุกรกิริยา
ส่วนเจ้าชายสิทธัตถะนั้นเพื่อค้นหนทางแห่งความดับทุกข์ พระองค์จึงเสด็จไปยังแคว้นมคธเพื่อไปขอเป็นศิษย์ ในสำนักอาฬารดาบส เมื่อศึกษาจนจบสิ้นความรู้แต่ทรงเห็นว่ายังไม่ใช่ทางที่จะทำให้พระองค์พ้นทุกข์ จึงลาอาจารย์ไป ศึกษาต่อในสำนักอุทกดาบส แต่วิชาของสำนักนี้ก็ไม่สามารถทำให้พระองค์พ้นจากทุกข์ได้เช่นกัน จึงลาอาจารย์แล้วเสด็จ ต่อไปจนถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พระองค์ดำริว่า ความรู้ที่เกิดจากตำราวิชาต่างๆ ไม่อาจทำให้พ้นจากทุกข์ได้ พระองค์จึงตัดสินพระทัยประทับที่อุรุเวลาเสนานิคมเพื่อบำเพ็ญเพียรให้ตรัสรู้ธรรมด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็น การทรมานพระวรกายให้ได้รับความลำบาก โดยมีพราหมณ์ ๕ คน คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ รวมเรียกว่า ปัญจวัคคีย์ มาคอยปรนนิบัติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงทรมานพระองค์ด้วยวีต่างๆ เมื่อไม่ได้ผล ก็ทรงเปลี่ยนวีใหม่ จนในที่สุดทรงอดพระกระยาหารจนพระวรกายซูบผอม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ได้รับความทุกข์ ทรมานแสนสาหัส รวมเวลาที่ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยานานถึง ๖ ปี ก็มิได้บรรลุผล
• มัชฌิมาปฏิปทา
เจ้าชายสิทธัตถะทรงท้อพระทัย เพราะไม่ทรงทราบว่าจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้ตรัสรู้ ขณะนั้นพระอินทร์ได้ เสด็จลงมาดีดพิณถวาย สายพิณสายที่หนึ่งขึงไว้ตึงเกินไปพอดีดก็ขาด สายที่สองหย่อนเกินไปเสียงที่ออกมาก็ไม่เพราะ ส่วนสายที่สามขึงไว้พอดี ไม่ให้ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไปเสียงจึงไพเราะน่าฟัง พระองค์ได้สดับและพิจารณาเห็นว่า การปฏิบัติทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา จะเป็นหนทางที่สามารถบรรลุพระโพธิญาณได้ พระองค์จึงทรงเลิกการ บำเพ็ญทุกกรกิริยา กลับมาเสวยพระกระยาหารบำรุงร่างกายให้แข็งแรงดังเดิมเพื่อที่จะทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป เหล่าปัญจวัคคีย์เห็นดังนั้นก็คิดว่าพระองค์หมดความเพียร จึงพากันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
• สุชาดาถวายข้าวมธุปายาส
หลังจากที่พระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยาได้ครึ่งเดือนก็ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เช้าวันนั้น นางสุชาดา ได้หุงข้าวมธุปายาส (ข้าวหุงด้วยน้ำนมโค) เพื่อนำไปถวายเทวดาที่ต้นไทร เนื่องจากนางได้บนบานต่อต้นไทรว่า หากเทวดาประทานพรให้นางมีลูกชาย นางจะนำข้าวมธุปายาสมาถวาย เมื่อสำเร็จตามปารถนานางจึงนำข้าวมธุปายาส มาถวายตามที่ได้ให้คำสัญญาไว้ ครั้นพอไปถึงต้นไทรนางเห็นเจ้าชายสิทธัตถะประทับใต้ต้นไทร นึกว่าพระองค์เป็น เทวดาซึ่งสิงสถิตอยู่ในต้นไทรได้ปรากฏกายให้เห็น นางจึงน้อมถวายข้าวมธุปายาสพร้อมกับถาดทองคำด้วยความเคารพ เมื่อเสวยข้าวมธุปายาสหมดแล้ว พระองค์นำถาดทองคำที่ใส่ข้าวมธุปายาสไปที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราทรงอธิษฐานว่า ถ้าพระองค์ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดลอยวนกระแสน้ำขึ้นไป แล้วถาดก็ลอยวนกระแสน้ำไปไกล ๘๐ ศอก จมลงสู่ก้นแม่น้ำซึ่ง เป็นที่อยู่ของพระยากาฬนาคราช จากนั้นพระองค์ก็ทอดพระเนตรเห็น โสตถิยพราหมณ์หอบหญ้าคาเดินไปทรง บิณฑบาตหญ้าคาจากพราหมณ์ และพราหมณ์ได้ถวายหญ้าคาแก่พระองค์ด้วยความเคารพ
• ผจญมาร
เจ้าชายสิทธัตถะทรงปูหญ้าคาแล้วอธิษฐานเป็นรัตนบัลลังค์ประทับนั่งหันพระพักตร์สู่ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) พระปฤษฎางค์ (หลัง) สู่ลำต้นศรีมหาโพธิ์ ขัดสมาธิตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติตั้งมั่นแล้วทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้ายังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณจะไม่ลุกนี้เป็นอันขาด แม้เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกก็ตาม จากนั้น ก็ทรงกำหนดจิตเจริญสมาธิภาวนา พระยาวัสสวดีมารซึ่งคอยติดตามเจ้าชายสิทธัตถะอยู่เกรงว่า ถ้าพระองค์ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจะพ้นจากอำนาจของตน จึงขี่ช้างชื่อ ศิริเมขล์นำเหล่าเสนามารเข้าไปแสดงฤทธิ์ต่างๆ ขัดขวาง แต่พระองค์ก็ยังประทับนิ่งไม่ทรงหวั่นไหว พระยามารโกรธมากให้เสนามารรุมเข้าไปฆ่าเจ้าชายสิทธัตถะ แต่ พระองค์ทรงนึกถึงพระบารมี ๓๐ ประการที่ทรงบำเพ็ญสั่งสมมาทุกชาติ และพระองค์จะสู้กับมารด้วยบารมีเหล่านี้ จึง ขอให้นางวสุนธราแม่พระธรณีเป็นพยานในการบำเพ็ญบารมี นางจึงบันดาลรูปเป็นนารีผุดขึ้นมาจากพื้นดิน และบิดมวย ผมให้น้ำหลั่งออกมาเท่ากับบารมีทีพระองค์ทรงบำเพ็ญเพียรสั่งสมออกมา น้ำที่หลั่งออกมามีปริมาณมากมายเหลือคณา นับท่วมท้นไปทั่วบริเวณ กระแสน้ำได้พัดพาพวกเสนามารไปจนหมดสิ้น แม้กระทั่งช้างศิริเมขล์ก็มิอาจยืนอยู่ได้ จนกระทั่ง พยามารพ่ายแพ้ ยกหัตถ์นมัสการกล่าวสรรเสริญแล้วลากลับไปยังที่อยู่ของตน พระองค์ทรงมีชัยเหนือเหล่า มารอย่างแท้จริง
• ตรัสรู้
เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญเพียรเจริญสมาธิภาวนาต่อไปจนถึงยามสามซึ่งเป็นเวลาใกล้รุ่ง ก็ตรัสรู้อริยสัจ ๔ (ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ ชันษา
• ปฐมเทศนา
ภายหลังตรัสรู้แล้ว พระองค์ประทับเสวย วิมุตติสุข (ความสุขที่เกิดจากความหลุดพ้นจากกิเลส) อยู่ใต้ร่มศรี มหาโพธิ์และบริเวณใกล้เคียงเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๑-๔ พระพุทธองค์เสวยวิมุตติและทบทวนสิ่งที่ได้ตรัสรู้ ในสัปดาห์ที่ ๕ ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับใต้ต้นไทร นางตัณหา นางราคา และนางอรดี ซึ่งเป็นธิดา ของพระยาวัสสวดีมารอาสาพระบิดามาทำลายตบะของพระพุทธองค์ ด้วยการรำฟ้อนยั่วยวนต่างๆ นานา แต่พระองค์ มิได้สนพระทัย นางทั้งสามจึงกลับไปด้วยความผิดหวัง หลังจากที่เสวยวิมตติสุขครบ ๗ สัปดาห์ พระองค์ ทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรม เนื่องจากธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้น ยากแก่การที่มนุษย์ที่มีกิเลสจะเข้าใจได้ ท้าวมหาพรหมจึงเสด็จลงมาเตือนพระสติ และทูลอารธนาให้ตรัสเทศนาโปรดสัตว์โลกทั้งปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม จากนั้นพระองค์ก็เสด็จไปยังแคว้นพาราณสี เพื่อไปโปรดปัญจวัคคีย์ พระองค์ แสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรกคือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตรใน วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ ขณะที่พระองค์ทรงเทศนา หนทางที่จะบรรลุธรรมนั้น ท่านโกณฑัญญะก็ได้ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) สำเร็จเป็นพระอรหันต์รูปแรก และได้ นามใหม่ว่าอัญญาโกณฑัญญะ และในวันนั้นท่านโกณฑัญญะก็ทูลขออุปสมบท เป็นภิกษุที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตด้วย พระวาจาซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุ ดังนั้นท่านอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นพระสงฆ์รูปแรกของโลก และในวันนี้เองเป็น วันที่ศาสนาครบองค์พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็เทศนาต่ออีกจน ปัญจวัคคีย์อีก ๔ ท่านได้บรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นสาวกกลุ่มแรกของพระพุทธศาสนา
• อริยสัจ ๔
พระพุทธองค์ทรงเทศนาธรรมครั้งแรกที่ “สารนาถ” ใกล้แคว้นกาสี และหลักธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ดังนี้
๑. อะไร คือ ความทุกข์
๒. อะไร คือ สาเหตุให้เกิดความทุกข์
๓. อะไร คือ ความดับทุกข์
๔. อะไร คือ ทางที่นำไปสู่การดับทุกข์
พระองค์ทรงแสดงมรรคประกอบไปด้วยองค์ ๘ อันเป็นลักษณะ ธรรมชั้นสูงขึ้นไป ที่เรียกว่า “อริยอัฎธังคิกะ” ประกอบด้วย
๑. ความเห็นชอบ
๒. ความดำริชอบ
๓. การเจรจาชอบ
๔. การกระทำชอบ
๕. การเลี้ยงชีพชอบ
๖. ความพยายามชอบ
๗. ความระลึกชอบ
๘. ความตั้งจิตมั่นชอบ
• ประกาศพระศาสนา
ในทุกแห่งหนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จโปรด พระองค์ทรงเทศนาพระธรรมคำสอน ให้แก่ผู้คนมากมาย และผู้คนเหล่านั้นยอมรับนับถือในคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บ้างก็สำเร็จอรหันต์บวชเป็นภิกษุ บ้างก็บรรลุ โสดาบันเห็นธรรม วันหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดพราหมณ์ที่ชื่อ อุรุเวลกัสสปะ พระองค์ประทับใน สถานที่บูชาไฟ ซึ่งมีพญานาค (งูพิษ) ของพราหมณ์กัสสปะอาศัยอยู่มีชื่อว่า “อัคนิศาลา” ครั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่นั้นพระยานาคเลื้อยออกมาและปรี่เข้าหาพระองค์อย่างรวดเร็วหมายจะทำร้าย แต่พยานาคไม่สามารถ ทำร้ายพระองค์ได้ พระองค์จึงทรงทรมานพระยานาคจนกระทั่งสงบลง และเข้าไปนอนอยู่ในบาตรของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าครั้งหนึ่งได้เกิดไฟไหม้ใหญ่ในเมืองคยา ไฟได้ลุกลามไปทั่วจนกระทั่งถึงภูเขา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัส กับสาวกของพระองค์ว่า“ทั่วโลกกำลังถูกเผาไหม้ด้วยไฟ ไฟนั้นคือ ความอิจฉาริษยาและความเศร้าโศกเสียใจ บุคคลผู้มี ปัญญาเท่านั้นที่เริ่มต้นแสวงสัจธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นด้วยตนเอง เพื่อดับไฟที่เผาผลาญให้ใจรุ่มร้อนอย่างนี้
• โปรดพระเจ้าพิมพิสาร
จากเนินเขาของเมืองคยา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระราชดำเนินไปยังเมืองราชคฤห์ เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร ทรงทราบข่าวการเสด็จมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปต้อนรับ พร้อมด้วยพระราชินีและพระราชโอรสตลอดจน ข้าราชบริพารเมื่อได้สดับฟังระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกาลต่อมาก็ได้เป็น สาวกในพระศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวัน (สวนไผ่) ให้เป็นที่ประทับของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระภิกษุทั้งหลาย เวฬุวันมหาวิหาร จึงนับได้ว่าเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ขณะนั้น มีพระอรหันต์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป อยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร เป็นวันเพ็ญเดือน ๓ (วันมาฆะ) พระสงฆ์ทั้ง ๑,๒๕๐ รูปจึงเข้าเฝ้าพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเพื่อให้พระองค์ทรงแดสงธรรม ซึ่งการประชุมของพระสงฆ์ในครั้งนี้เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต หมายถึง การประชุมที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการคือ มีพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาชุมนุมกันโดย มิได้นัดหมาย พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ และเป็นวันเพ็ญเดือนสาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นโอกาสพิเศษ จึงแสดงพระธรรมโอวาทปาติโมกข์อันเป็นหลักของศาสนาคือ ละเว้นความชั่ว ทั้งปวง ทำความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
• โปรดพุทธบิดา
เมื่อพระเจ้าสุทโทธนะมหาราชพุทธบิดา สดับข่าวว่าพระราชโอรสได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเที่ยว ประกาศพระศาสนา ได้ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ปรารถนาจะได้พบเห็นพระพุทธองค์ จึงตรัสให้อำมาตย์ พร้อมกับบริวารหนึ่งพันไปเชิญเสด็จ แต่อำมาตย์และบริวารได้ฟังเทศน์ ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์และทูลขอบวชหมด ทุกคน จากนั้นจึงทูลเชิญเสด็จยังกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา กับพระประยูรญาติ ทำให้พระเจ้าสุทโธทนะได้ดวงตาเห็นธรรม
• โปรดพระนางยโสธรา-พระนันทะ
จากนั้นพระเจ้าสุทโธทนะทรงอาราธนาให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จโปรดพระนางยโสธรา เมื่อพระสัมมา สัมพุทธเจ้า เสด็จถึงก็ทรงปลอบโยนและแสดงธรรมเทศนาโปรด จนพระนางยโสธรารู้สึกปิติยินดีหมดความเศร้าโศรก ได้ดวงตาเห็นธรรมในขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับในกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์เสด็จร่วมพิธีอภิเษกสมรสของ พระนันทะ พระอนุชาที่เกิดแต่พระนางปชาบดีโคตรมีกับพระเจ้าสุทโธทนะ หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวย พระกระยาหารแล้วก็ส่งบาตรให้พระนันทะแล้วเสด็จออกจากปราสาท พระนันทะจำต้องอุ้มบาตรเดินตามเสด็จเพราะ เกรงพระทัยไม่กล้าทูลให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับบาตรคืน จนกระทั่งถึงนิโครธารามหาวิหารอันเป็นที่ประทับจำวัด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รับสั่งให้ พระนันทะบรรพชาแล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้
• ราหุลบรรพชา
หลายวันต่อมา พระนางยโสธราตรัสให้ราหุลกุมารพระราชโอรสไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทูลขอ พระราชสมบัติจากพระราชบิดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดำริว่าสมบัติมีค่าใดๆ ก็ไม่ยั่งยืนถาวรเท่ากับโลกุตตรสมบัติ เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐคือ พระนิพพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสบอกให้พระราหุลตามเสด็จพระองค์ไป แล้วจึง รับสั่งให้พระสารีบุตรบรรพชาให้พระราหุลเป็นสามเณร ซึ่งนับว่าเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทะศาสนา
• อิทธิปาฏิหาริย์
บุคคลบางจำพวกเกิดทิฐิมานะไม่เลื่อมใสในพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้บุคคลเหล่า นั้นคลายทิฐิลง พระพุทะองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ให้ผู้ที่ความเห็นไม่ถูกต้องเหล่านั้นได้เห็น ดังเช่นครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยมะม่วงสุกแล้วปลูกเมล็ดในพื้นดินล้างพระหัตถ์ลงที่เมล็ดมะม่วง หน่อมะม่วง ก็เติบโตแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปในพริบตาออกผลเต็มต้น เป็นต้นครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับในป่าห่าง จากบริเวณที่พระสาวกอยู่ ได้มีช้างเชือกหนึ่งและลิงตัวหนึ่ง คอยปรนนิบัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการถวายผลไม้ ดอกไม้ และน้ำผึ้ง
• โปรดองคุลีมาล
ที่เมืองสาวัตถี มีมหาโจรผู้หนึ่งนามว่า องคุลีมาล ต้องการที่จะร้อยพวงมาลัยด้วยนิ้วมือ โดยการฆ่าคน ให้ได้ครบหนึ่งพันคน เขาได้ทำการฆ่าผู้คนไปแล้วเป
SFC588
SFC 588 SFC 588 เล่นสล็อต Royal
รีวิวหนัง : Get Smart พยัคฆ์ฉลาดเก๊กไม่เลิก
Get Smart พยัคฆ์ฉลาดเก๊กไม่เลิก วันที่เข้าฉาย : 19-06-2008